Zero Burn สร้างพลังงานทางเลือกลดมลพิษจากการเผาฟางข้าว

เดือนมีนาคมถึงเมษายนของทุกปีเป็นช่วงเวลาสิ้นสุดการ เก็บเกี่ยวข้าวรอบแรกในพื้นที่ตำบลรางจรเข้ อำเภอเสนา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชาวบ้าน “รางจรเข้” เล่าว่า ท้องทุ่งในตำบลของเขา เป็นนาข้าวนับพันไร่ ในช่วงเวลานี้ ในอดีตที่ผ่านมาชาวนาจำเป็น ต้องใช้วิธีเผาฟางข้าวที่เหลืออยู่ในแปลงนา เพื่อเตรียมพื้นที่ ให้พร้อมสำหรับการทำนา รอบ 2 ในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากช่วงรอยต่อที่กระชั้นทำให้ไม่อาจกำจัดฟางด้วยวิธีอื่น เช่นการ หมักฟางโดยการปล่อยน้ำเข้ามาขังในนา ซึ่งต้องใช้เวลาถึงครึ่งเดือนกว่าฟางจะย่อยสลายไปเอง


สถานการณ์ของตำบลรางจรเข้คงไม่แตกต่างจากพื้นที่การเกษตรอีกหลายแห่งทั่วประเทศไทย ที่เกษตรกรใช้วิธีเผาไร่
เพื่อกำจัดเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นใบอ้อย ซังข้าวโพด หรือฟางข้าวในนา จนก่อให้เกิดมลภาวะทั้งหมอก ควัน ฝุ่นละออง PM 2.5 และภาวะโลกร้อน ซึ่งกระทบต่อปัญหา สุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้คนที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันจะมีหนทางอื่นใดที่สามารถช่วยเกษตรกร พร้อมกับใช้ประโยชน์จากฟางข้าวและเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร แทนการเผาทิ้ง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

รางจรเข้ มุ่งสู่ Zero Burn

ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างริเริ่มดำเนินโครงการเกษตรปลอดการเผา (Zero Burn) โดยเปิดรับซื้อผลผลิตการเกษตรเหลือทิ้งตั้งแต่ปลายปี 2562 ในพื้นที่รอบโรงงานปูนซีเมนต์ทั้ง5 แห่งของเอสซีจี ที่จังหวัดสระบุรี ลำปาง และนครศรีธรรมราชพร้อมขยายจุดรับซื้อไปยังเครือข่ายโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จซีแพคที่กระจายตัวครอบคลุมในทุกภาคของประเทศโรงงานรับซื้อฟางข้าว ใบอ้อย และซังข้าวโพดเป็นหลักเพื่อนำมาอัดแปรรูปเป็นเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวล (Energy Pellet)สำหรับใช้ในหม้อเผาของโรงงานปูนซีเมนต์ ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหิน


ในกรณีของฟางข้าว หากจุดรับซื้ออยู่ไกลมากจากโรงงานปูนซีเมนต์ การใช้เครื่องอัดก้อนแบบธรรมดาจะไม่คุ้มต่อ
การขนส่ง จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรย่อยและบีบอัดฟางให้เป็นเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวลซึ่งมีขนาดเล็กแต่หนาแน่นสูง ทำให้สามารถบรรทุกได้ราว 20 ตันต่อคันรถบรรทุกพ่วงสำหรับ ตำบลรางจรเข้ อำเภอเสนา แม้ที่ผ่านมาจะมีการเผา
ฟางในนาหลังการเก็บเกี่ยวมาโดยตลอด ทว่าด้วยการตระหนักถึงปัญหาของคนในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบล รางจรเข้(อบต.) จึงร่วมมือกับเอสซีจีดำเนินโครงการเกษตรปลอดการเผา รวมทั้งจับมือเป็นพันธมิตรกับสยามคูโบต้าส่งมอบรถอัดฟางจำนวน 2 คันมาให้ใช้ในโครงการนี้อีกด้วย

นอกจากนี้เอสซีจียังติดตั้งเครื่องจักรสำหรับอัดเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวลขึ้นเป็นแห่งแรกในพื้นที่ต􀀏ำบลลาดงา ซึ่งอยู่ใกล้กับตำบลรางจรเข้ นับเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนโครงการเกษตรปลอดการเผาในท้องที่อำเภอเสนา เพราะเกษตรกรสามารถขนส่งฟางอัดก้อนมาแปรรูปเป็นเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวล
เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงที่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด
และบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด โรงงานเขาวงจังหวัดสระบุรี ที่อยู่ห่างออกไปกว่า 100 กิโลเมตร
ได้อย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐศาสตร์ “ที่ตำบลรางจรเข้ท􀀏ำนาปีละ 2 รอบ เพราะใช้น้ำชลประทานการทำนาสมัยก่อนจะใช้วิธีเผาฟางอย่างเดียวเลยค่ะ เพราะมันไว


ในช่วงที่เราทำนารอบแรกเสร็จ จะขึ้นรอบที่ 2 เราไม่มีเวลามาหมักฟาง เราต้องทำนารอบ 2 ให้เสร็จก่อนที่น้ำจะหลากมาท่วมพื้นที่ช่วงปลายปี” วราภรณ์ เฉลิมศิลป์ ชาวนาตัวจริงแห่งท้องทุ่งรางจรเข้ เล่าให้ฟัง พร้อมกล่าวถึงโครงการเกษตรปลอดการเผาในพื้นที่ว่า “ข้อดีของโครงการนี้คือ ชาวบ้านจะได้ไม่ต้องเผาฟางกัน ช่วยลดฝุ่นลดมลพิษไปได้ แล้วท่านนายก อบต. ก็ช่วยเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายฟางด้วย แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ในทุ่งรางจรเข้มีนาเป็นพันไร่ หากนาแต่ละแปลงเก็บเกี่ยวเสร็จไล่ๆ กัน กลัวว่ารถอัดฟางที่มีอยู่จะเข้าไปทำงานไม่ทัน” อย่างไรก็ตามวราภรณ์และเพื่อนชาวนาด้วยกันมีความเห็นตรงกันว่า หากรถอัดฟางที่มีอยู่จำนวน 2 คันสามารถตระเวนไปอัดฟางในแปลงนาได้สัก 60-70 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ ก็น่าจะช่วยลดการเผาฟางให้น้อยลงไปเรื่อยๆ ในแต่ละปี

ขณะที่ พงศกร มงคลหมู่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ ให้ความเห็นว่า“ปัจจุบันเรื่องฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาระดับชาติ ตรงนี้เรารณรงค์ขอความร่วมมือเกษตรกรไม่ให้เผาฟางข้าวในนา แต่ถ้าหากไม่มีเครื่องมือมาช่วยเขา ส่วนใหญ่ยังต้องเผาอยู่ เราเลยขอความอนุเคราะห์จากเอสซีจีให้ลงมาช่วยกัน เบื้องต้นเอสซีจีได้นำเครื่องจักรอัดฟางเป็นเชื้อเพลิงมาติดตั้งในพื้นที่ นอกจากนี้เรายังได้รับการสนับสนุนจากสยามคูโบต้า มอบรถอัดฟางมาให้ใช้งาน คาดว่าจะช่วยให้แก้ปัญหาการเผาฟางข้าวได้ถึง 100%”

ขนฟาง
ยามสายของวันนั้นอากาศยังคงเยือกเย็น ท้องฟ้าปลอดโปร่งและลมพัดค่อนข้างแรง เนื่องจากเป็นช่วงปลายปี มองลงไปจากไหล่ถนนเห็นท้องทุ่งโล่งกว้างไกล แต่ในแปลงนาที่ติดริมถนนมีรถคูโบต้าสีแดง 2 คันลากตู้เครื่องอัดฟางวิ่งวนไปวนมาตามแนวยาวของผืนนาพื้นนาที่เพิ่งเก็บเกี่ยวเหลือตอซังเรียงรายเป็นแถว และเศษฟางเหลือทิ้งเกลื่อนอยู่ทั่วบริเวณ เมื่อรถอัดฟางวิ่งผ่าน เส้นฟางจะถูกดูดเข้าไปบีบอัดให้เป็นก้อนสี่เหลี่ยม แล้วปล่อยตามสายพานออกมาจากช่องท้ายรถ คนงานจะเดินไปใช้ขอเหล็กลากก้อนฟางเหล่านั้นมาเก็บรวบรวมไว้ที่มุมหนึ่ง ฟางแต่ละก้อนหนักราว 18-20 กิโลกรัม

วิชา เกิดพันธ์ อายุ 70 ปี เจ้าของนาผืนนี้ เล่าให้ฟังว่า เมื่อปีที่แล้วเขาไม่อยากเผาฟางข้าว ถึงขั้นยอมเสียเงินจ้างรถมาขนฟางจากนาตัวเองไปทิ้ง “ผมทำนาทั้งหมด 100 ไร่ ที่ตรงนี้ 14 ไร่ ผมเป็นคนแรกในอ􀀏ำเภอเสนาที่จ้างรถมาขนฟาง ให้เขาไป 5,000 บาทแล้วเลี้ยงข้าวคนขับอีกต่างหาก อ้าว ถ้าผมเผาผิดกฎหมายเสียเงินแล้วสบายใจ” ลุงวิชาหัวเราะชอบใจแล้วกล่าวต่อ
“อย่างโครงการที่เขาบอกว่าหมักฟางให้ย่อยสลาย มันไม่ใช่เรื่องง่าย ใช้เวลาเป็นเดือน คนพูดกับคนย􀀏่ำนาคนละคนกัน
เขาไม่รู้หรอก แต่ถ้ามีโครงการ Zero Burn มา มันแน่นอนแก้ถูกจุด”

“ลุงประสานมาได้เลยครับ เราจะลงมาแบบนี้ อัดฟางให้แล้วรับซื้อฟางไร่ละ 50 บาท” นายกฯ พงศกรกล่าวเสริม

“ถ้าหากโครงการนี้มีกำไร เราจะมีผลตอบแทนกลับคืนให้เกษตรกรในรูปแบบต่างๆ”นายกฯ พงศกรอธิบายเรื่องนี้ว่า “ฟางในนาทาง อบต. จะดำเนินการอัดเป็นฟางก้อน ซึ่งหลังจากที่เอสซีจีรับซื้อแล้ว เราจะให้เกษตรกรเจ้าของนาไร่ละ 50 บาท และแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งกระจายเป็นค่าจ้างในการดำเนินการและจัดสรรเข้ากองทุนเพื่อสาธารณประโยชน์ให้ชุมชน เช่น เป็นทุนการศึกษาให้เด็กที่เรียนดีแต่ยากจน หรือเป็นสวัสดิการให้เกษตรกร โดยกองทุนนี้กลุ่มชาวบ้านจัดตั้งกันเองในลักษณะกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ อบต.เป็นพี่เลี้ยงให้”ขั้นตอนต่อจากนี้ก็คือ บรรดาฟางอัดก้อนจากนาแปลงนี้จะถูกขนส่งไปยังโรงงานแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดของเอสซีจีซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลลาดงา ห่างจากบริเวณนี้ไม่เกิน 20 กิโลเมตร

อัดฟาง
โรงงานแปรรูปเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดตั้งอยู่ในเขตที่ดินของซีแพค ต􀀏ำบลลาดงา ที่ชาวบ้านมักเรียกกันว่า “บ่อทราย”
นอกอาคารโรงงานด้านหนึ่งเป็นลานกว้าง มองเห็นก้อนฟางสุมซ้อนเป็นกองพะเนินเรียงรายทั่วบริเวณลาน
วราวุธ เสมอเหมือน เจ้าหน้าที่เอสซีจีประจ􀀏ำโรงงาน เล่าว่า“โรงงานนี้เริ่มด􀀏ำเนินการเมื่อเดือนพฤษภาคม 2563 ส่วนฟางที่เห็น ทางโรงงานรับมารอบแรกประมาณช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งเราได้เตรียมเป็นเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวลส่งให้โรงงานปูนซีเมนต์แก่งคอย จังหวัดสระบุรี” วราวุธอธิบายกระบวนการทำงานว่า เมื่อเกษตรกรนำรถอีแต๊กหรืออีแต๋น บรรทุกฟางอัดก้อนเข้ามาที่นี่ ทางโรงงานจะทำการวัดความชื้นของฟางให้มีค่าไม่เกิน 25% จึงตกลงรับซื้อไว้ได้
“คนงานเอาตะขอเหล็กไปเกี่ยวๆ เพื่อแยกเศษเชือกออกมาแล้วทำให้ฟางฟูขึ้น ถึงจะเอาเข้าเครื่องย่อยได้”

ฟางที่ผ่านเครื่องย่อยจะมีขนาดเล็กลงเหลือชิ้นละประมาณ 24 มิลลิเมตร จากนั้นใช้ระบบพัดลมดูดเพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องจักรบีบอัดที่ติดตั้งในโรงงานจ􀀏ำนวน 4 เครื่องผลผลิตจากกระบวนการดังกล่าวก็คือฟางอัดก้อนขนาดเล็กที่มีความหนาแน่นสูง หรือเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวลซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 24 มิลลิเมตร วราวุธเล่าว่า โรงงานแห่งนี้อยู่ในช่วงเริ่มต้น ยังต้องทดลองและปรับปรุงระบบการทำงานเพื่อให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ทุกวันนี้โรงงานสามารถผลิตฟางอัดเม็ดเป็นเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวลได้ประมาณ 10 กว่าตันต่อวัน เพื่อขนส่งไปใช้เป็น
เชื้อเพลิงทดแทนที่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัดจังหวัดสระบุรี ทุกๆ 3 วัน ในปริมาณเที่ยวละประมาณ 20 ตัน

เจ้าหน้าที่ของเอสซีจีอีกคนที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับโครงการนี้อย่างใกล้ชิด คือ ชวิน จัตตารีส์ วิศวกรผู้มีหน้าที่ออกแบบระบบโรงงาน ติดตั้งเครื่องจักร ตลอดจนดูแลกระบวนการผลิตให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น “วัตถุดิบอย่างฟางข้าวหรือใบอ้อยมีน้ำหนักเบา ทำให้การขนส่งไม่คุ้มค่า จึงต้องหาวิธีแปรรูป คือการย่อยและอัดเป็นแท่งขนาดเล็ก เพื่อให้ขนส่งได้ในปริมาณมาก พวกผมจึงเริ่มศึกษาเทคโนโลยี ออกแบบเครื่องจักรและติดตั้ง ซึ่งโรงงานตอนนี้อยู่ในช่วงทดลองผลิต ทดลองการทำงานของระบบต่างๆ” เขาอธิบายเพิ่มว่า “โครงการนี้เป็นความร่วมมือการทำงานของ 3 ทีม ทีมแรกคือทีมจัดหาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรทำหน้าที่หาวัตถุดิบ เช่น ฟางข้าว ใบอ้อย ทีมที่ 2 คือทีม Customer Co-Development ที่ทำหน้าที่ร่วมพัฒนาการนำเชื้อเพลิงจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรไปใช้ให้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพสูงที่สุดทั้งจากโรงงานปูนซีเมนต์

และลูกค้าภายนอก และทีมที่ผมรับผิดชอบอยู่ คือทีมเทคนิค จะอยู่ตรงกลาง รับโจทย์มาจากทั้งสองทีม แล้วหาเทคโนโลยีมาใช้แปรรูปวัตถุดิบให้กลายเป็นเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวลที่ลูกค้าต้องการ” ชวินเผยว่า ในระยะใกล้โรงงานมีแผนผลิตฟางอัดเป็นเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวลให้ได้ 0.5 ตันต่อเดือน และแผนขั้นต่อไปตั้งเป้าผลิต 1.5 ตันต่อเดือน

ขยายผลเพื่ออนาคตของทุกคน
เอสซีจีมีแผนขยายจุดรับซื้อวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ผ่านเครือข่ายโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จซีแพคทั่วประเทศ และตั้งเป้าว่าจะสามารถผลิตเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อทดแทนการนำเข้าถ่านหินให้ได้ปริมาณ 1 ล้านตันต่อปี


วิธีการไปถึงเป้าหมายนี้มีหลายแนวทาง เช่น การติดตั้งเครื่องจักรอัดเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวลเพิ่มขึ้นในพื้นที่อื่นๆ รวมทั้ง
การแสวงหาความร่วมมือแบบ OEM กับโรงงานเอกชนรายอื่นที่มีเครื่องจักรผลิตเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวลอยู่แล้ว

นอกจากนั้นเอสซีจียังมีแนวคิดส่งเสริมการใช้เครื่องจักรขนาดเล็กในชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศไทย ให้เป็นกิจการ
ในลักษณะวิสาหกิจชุมชนอีกด้วย“เชื่อว่าโครงการ Zero Burn จะมีประโยชน์อย่างแน่นอนครับ” ชวินกล่าวอย่างมั่นใจ
“มองในแง่ธุรกิจ เราเอาของต้นทุนต่ำมาทำเชื้อเพลิง แต่มองอีกมุม เราเอาของไม่มีค่ามาทำให้มีประโยชน์ ผมว่าเป็นงานที่เหนื่อย แต่ก็ท้าทาย คือเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ เปลี่ยนมุมมองทั้งเรื่องเครื่องจักร เรื่องคน หรือธุรกิจของโรงปูน ทุกคนต้องเปลี่ยน ต้องปรับตัว แต่สุดท้ายห่วงโซ่มันดีขึ้น ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้น คนขับรถขนส่งมีงานทำ โรงงานปูนซีเมนต์ก็ใช้ถ่านหินน้อยลง เปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทนจากเชื้อเพลิงชีวมวล


“ได้เป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนเปลี่ยนเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาเป็นพลังงานทดแทนให้เพิ่มมากขึ้นในอนาคต…ผมภูมิใจที่ได้ทำงานนี้” ความรู้สึกของวิศวกรหนุ่มอย่างชวินคงไม่แตกต่างจากชาวเอสซีจีคนอื่นๆ ที่มีส่วนร่วมในโครงการเกษตรปลอดการเผา Zero Burn ที่ช่วยลดปัญหาสภาพแวดล้อมและสรรค์สร้างประโยชน์ให้กับหลายภาคส่วนของสังคมไทย