การดูแลสังคมและชุมชน
เอสซีจีเชื่อว่าสังคมและชุมชนที่เข้มแข็งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าและก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลง เราจึงมุ่งสร้างสรรค์ความเจริญอย่างยั่งยืนในทุกภูมิภาคและทุกชุมชนที่เข้าไปดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมอย่างยั่งยืน
‘ความรับผิดชอบต่อสังคม’ เป็นอุดมการณ์ที่เอสซีจียึดถือเป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนาน เราทุ่มเทเพื่อสร้างธุรกิจให้เติบโตควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิต ให้ความสำคัญกับการจัดการกับปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและคุณภาพชีวิตของผู้คน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงทางเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
การบริหารจัดการ
- “คณะกรรมการกิจการสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”ประกอบด้วยกรรมการบริษัทและผู้บริหารเอสซีจี ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านสังคม
- “มูลนิธิเอสซีจี”ดำเนินภารกิจหลักด้านพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นคนเก่งและคนดี
- “หน่วยงานชุมชนสัมพันธ์”ดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนโดยรอบสถานประกอบการของเอสซีจี ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
เป้าหมายและผลงาน
- การแบ่งปันสู่สังคม
กลยุทธ์
- การใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางทั้งจากภายในเอสซีจีและภายนอก พัฒนาศักยภาพชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ และช่วยเหลือดูแลสังคม
เพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถขยายผลเป็นแบบอย่างขององค์กรอื่น ๆ โดยเอสซีจีเข้าไปมีส่วนร่วมดำเนินการตั้งแต่วิเคราะห์ปัญหา วางแผนงาน และร่วมดำเนินงานในทุกกระบวนการจนประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ - การสร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเพื่อสร้างสรรค์คุณค่าที่ยั่งยืนสู่สังคม
เพื่อแก้ไขปัญหาหรือยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่สังคมในวงกว้างโดยใช้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เฉพาะทาง ทั้งนี้เอสซีจีเข้าไปมีส่วนร่วมในบางเรื่องและสามารถขยายผลหรือนำไปต่อยอดได้ - การสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและแก้ไขปัญหาของสังคม
เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตหรือเสริมสร้างศักยภาพในด้านต่างๆของสังคมโดยพนักงาน SCG เข้าไปมีส่วนร่วมขับเคลื่อนโครงการจนเกิดผลสำเร็จและขยายไปสู่ภาคส่วนต่างๆ - การพัฒนาต้นแบบการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนและขยายผลสู่ชุมชนเครือข่าย
เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของสังคมรวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตคนในสังคมให้ดียิ่งขึ้นด้วยการสนับสนุนองค์กรที่ได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถด้านการบริหารจัดการกิจกรรมสาธารณประโยชน์
แนวทางการดำเนินโครงการพัฒนาสังคม
เอสซีจีกำหนดกลยุทธ์โดยใช้แนวทางการดำเนินกิจกรรมที่ส่งผลต่อสังคมและการมีส่วนร่วมของเอสซีจี ซึ่งรวมถึงศักยภาพและความสามารถขององค์กรทั้งด้านองต์ความรู้ เงินทุน และการทำงานร่วมกันใน 4 รูปแบบ คือ
- ต้นแบบด้านการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศให้เห็นผลอย่างเป็นรูปประธรรมและสามารถขยายผลเป็นแบบอย่างขององค์กรอื่นๆโดย SCG เข้าไปมีส่วนร่วมดำเนินการตั้งแต่วิเคราะห์ปัญหาวางแผนงานและร่วมดำเนินงานในทุกกระบวนการจนประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
- เสริมสร้างศักยภาพและยกระดับชีวิต โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อแก้ไขปัญหาหรือยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่สังคมในวงกว้างโดยใช้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เฉพาะทางทางนี้ SCG เข้าไปมีส่วนร่วมในบางเรื่องและสามารถขยายผลหรือนำไปต่อยอดได้
- เสริมสร้างศักยภาพและยกระดับชีวิต โดยการมีส่วนร่วมของพนักงาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตหรือเสริมสร้างศักยภาพในด้านต่างๆของสังคมโดยพนักงาน SCG เข้าไปมีส่วนร่วมขับเคลื่อนโครงการจนเกิดผลสำเร็จและขยายไปสู่ภาคส่วนต่างๆ
- ช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของสังคมรวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยในสังคมให้ดียิ่งขึ้นด้วยการสนับสนุนองค์กรที่ได้รับการยอมรับว่ามีความสามารถด้านการบริหารจัดการกิจกรรมสาธารณประโยชน์
โครงการเพื่อสังคมที่สอดคล้องกับกลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืนและประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สำคัญ (Enterprise Materiality) ของเอสซีจี
ท่ามกลางสภาพอากาศแปรปรวน ทรัพยากรทั่วโลกขาดแคลน และ ความเหลื่่อมล้ำในสัังคมที่กำลังขยายวงกว้าง ตลอดจน สถานการณ์แพร่่ระบาดของโควิิด 19 กลายเป็นวิกฤตครั้้งใหญ่ เอสซีจี ในฐานะพลเมืองของโลก ถือเป็นหน้าที่่และความรัับผิดชอบ ขององค์กร ที่จะผลักดันการดำเนินงานในทุกระดับให้เติบโต ควบคู่ กับสังคมที่เข้มแข็งและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน พร้อมร่วมมือกับ ทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่่อน ESG (Environmental, Social, Governance) กรอบพัฒนาที่เป็นมาตรฐานการดำเนินธุุรกิจระดัับโลกสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่่ยั่่งยืน SDGs (Sustainable Development Goals) ของสหประชาชาติ และโมเดลเศรษฐกิจใหม่ อย่่างยั่่งยืนของรัฐบาลไทย (Bio-Circular-Green Economy : BCG Economy) ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนสู่ “ESG 4 Plus” เพื่่อส่่งมอบโลกที่น่าอยู่และยั่งยืนให้คนรุ่นต่อไป
โครงการด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสําคัญสูงขึ้นอย่างมากในปีที่ผ่านมา ทําให้มีปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย และโอกาสของการมุ่งสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ เอสซีจีจึงตั้งเป้าหมายการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 และตั้งเป้าหมายที่สอดคล้องกับ Science Based Target ซึ่งอยู่ระหว่างการทวนสอบ โดยยังคงมุ่งมั่นดำเนินการตามกลยุทธ์และ มาตรการต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
ภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องลดการปล่อย GHG ตามข้อตกลงปารีสและ SDGs 7, 9, 12, 13 และ 15 เอสซีจีให้ความสนใจอย่างต่อเนื่องและสร้างมูลค่าร่วมกันตลอดห่วงโซ่คุณค่าโดยมุ่งมั่นที่จะลด GHGs และกลายเป็น Net Zero ภายในปี 2050 ส่วนหนึ่งของความพยายามมีดังนี้:
- เอสซีจีเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานคาร์บอนต่ำ อย่างเช่นพลังงานชีวมวล (Biomass) เชื้อเพลิงจากขยะ (RDF) การใช้ลมร้อนเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต (Waste Heat Generator) และพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy)
- เอสซีจีเดินหน้าลงทุนวิจัยในเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Technology) เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) การใช้ปัญญาประดิษฐ์เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานทดแทน (AI Supervisory for Energy Analytics) ศึกษาการใช้เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS)
- จัดตั้งธุรกิจ SCG Cleanergy ให้บริการ โซลูชันผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ทั้งแสงอาทิตย์และลม ทั้งในไทยและต่างประเทศ
- เอสซีจีร่วมปลูกต้นไม้ลดโลกร้อน 3 ล้านไร่ และป่าโกงกาง 3 หมื่นไร่ เพื่อดูดซับ 5 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในปี 2593 และสร้างฝายชะลอน้ำเพิ่มเป็น 130,000 ฝาย ภายในปี 2568 เพื่อฟื้นความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ป่าต้นน้ำ
โดยในปี 2564 สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ประมาณ 0.9 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์ ทำได้ดีขึ้นร้อยละ 2.66 เมื่อเทียบกับปี 2563
การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ more details...
โครงการด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน
จากความท้าทายระดับโลกเรื่องผลกระทบจากปัญหาขยะและการขาดแคลนทรัพยากร เอสซีจีจึงให้ความสำคัญกับการนำเศรษฐกิจหมุนเวียน ภายใต้หลักการ “ผลิต-ใช้-วนกลับ” มาเป็นกลยุทธ์หลักประการหนึ่งในการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เกี่ยวกับการผลิตและการบริโภคอย่างรับผิดชอบ
วิกฤตขยะได้ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงและการขาดแคลนทรัพยากรทั่วโลกที่รุนแรงขึ้น เอสซีจีมุ่งมั่นส่งเสริมการจัดการขยะอย่างเป็นระบบให้สอดคล้องกับ SDGs 8 9 & 12 ที่เราใส่ใจและสร้างมูลค่าร่วมกันตลอดห่วงโซ่คุณค่ามาอย่างต่อเนื่อง โดยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการผลิตและการบริโภคตามแนวทาง SCG Circular ให้เป็นแนวทางที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืน ผลกระทบ ส่วนหนึ่งของความพยายามมีดังนี้:
- เทคโนโลยีการก่อสร้างที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม (Green Construction Solution) เป็นหนึ่งในโครงการเพื่อสร้างมูลค่าและลดการใช้ทรัพยากร ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น การสร้างแบบจำลองข้อมูลอาคาร (BIM) และการพิมพ์ 3 มิติ ที่ถือเป็นนวัตกรรมการก่อสร้างที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในภาคการก่อสร้างของประเทศไทยได้ดียิ่งขึ้น แก้ปัญหาการก่อสร้างที่ไม่มีประสิทธิภาพ การก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีที่ล้าสมัย และการก่อสร้างที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- เชื้อเพลิงแข็งทดแทนจากขยะชุมชน (Refuse Derived Fuel) โดยจัดตั้งโรงงานคัดแยกขยะที่บ่อขยะชุมชน และปรับปรุงขยะแยกส่วนที่เผาไหม้ได้เพื่อนำมาแปรรูปและอัดก้อนแข็งเป็นเชื้อเพลิงใช้แทนถ่านหินในเตาผลิตปูนเม็ดของโรงงานปูนซีเมนต์เทา ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และยังช่วยลดปัญหาขยะของเสียตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน นอกจากนี้ ยังมีโครงการรับซื้อวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในพื้นที่รอบโรงงาน เช่น ฟางข้าว ใบอ้อย ซังข้าวโพด นำมาแปรรูปเป็นเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวล (Energy Pellet) เพื่อทดแทนการใช้ถ่านหิน.
- SCG Green PolymerTM คือ นวััตกรรมเม็ดพลาสติกที่ตอบโจทย์ความเป็นมิิตรต่่อสิ่งแวดล้้อมด้วยการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองฉลาก SCG Green Choice ภายใต้หลัก “เศรษฐกิจหมุนเวียน”
- เอสซีจี SCG ยกระดับเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่ธุรกิจ ด้วยการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล อาทิ PaperX, KoomKah ด้วยการส่งคืนและรีไซเคิลของเสียให้เป็นวัตถุดิบในการดำเนินงานของ เอสซีจี
- เอสซีจี บางซื่อโมเดล ถอดบทเรียนที่ได้เรียนรู้และขยายผลไปสู่ชุมชนอื่น ๆ ด้วยโครงการชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ โดยสร้างความร่วมมือทั้งภาคราชการและภาคประชาชน สร้างชุมชนต้นแบบ เพื่อขยายผลสู่วงกว้างต่อไป
เศรษฐกิจหมุนเวียน more details...
โครงการด้านลดเหลื่อมล้ำและความปลอดภัย
เอสซีจีให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสังคมที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและคุณภาพชีวิต การเสริมสร้างสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งสะท้อนถึงคุณภาพชีวิตอันเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สอดคล้องกับ SDGs3 & 8 ในการสร้างมูลค่าร่วมกันตลอดห่วงโซ่คุณค่ามาอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งของความพยายามมีดังนี้:
- ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 เอสซีจีตระหนักถึงความเร่งด่วนของทุกภาคส่วนในการเผชิญกับวิกฤตนี้ จึงได้ริเริ่มและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมเพื่อต่อสู้กับโรคระบาดแก่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ระดับแนวหน้าทั้งในประเทศและระดับภูมิภาค เช่น ห้องคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยง (Modular Screening & Swap Unit) , Mobile Isolation Unit ซึ่งใช้ระบบความดันอากาศแยกพื้นที่ระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์, เตียงสนามกระดาษ SCGP และ Modular ICU สำหรับผู้ป่วยขั้นวิกฤต
- เอสซีจีมุ่งมั่่นเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือวิกฤตที่เกิดขึ้นใน สังคมที่่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพ และคุณภาพชีวิตของผู้คน ด้วย การลดความเหลื่่อมล้้ำทางสัังคม ผ่านการให้ความรู้ เสริมทักษะ สร้างอาชีพที่่เป็นที่่ต้องการของตลาด ผ่านโครงการต่าง ๆ เพื่อยกระดับ คุุณภาพชีวิต สร้างชุุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ทั้งในไทยและอาเซียน เช่น อาชีพพนักงานขับรถบรรทุุก อาชีพช่างปรับปรุุงบ้าน อาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์และขายสินค้า ออนไลน์และออฟไลน์ รวมทั้ง การมอบทุนการศึกษา โดยมูลนิธิเอสซีจี เช่น อาชีพผู้ช่วยพยายาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ นักบริบาลผู้สูงอายุ นอกจากนี้ เอสซีจียังมอบทุุนการศึกษาอาชีพที่ขาดแคลนให้ เยาวชนในอาเซียน เช่น แพทย์์พยาบาล วิศวกร ครูู
- พลังชุมชน สร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นหลักสูตรอบรมวิสาหกิจชุมชุน เสริมความรู้คู่คุณธรรม ตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างแรงบันดาลใจให้ชุุมชนพัฒนา ตนเอง ต่อยอดแปรรููปผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่่าเพิ่่ม สร้าง อัตลักษณ์สินค้าให้โดดเด่น รู้จักตลาดก่อนผลิตและขาย สร้างแบรนด์สินค้า และขยายช่องทางการขายผ่านออนไลน์ตลอดจนวิธีการวางแผนสำหรับอนาคตของพวกเขา
- ความปลอดภัยในการขนส่ง ความปลอดภัยในการคมนาคมขนส่ง ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและพยายามบริหารจัดการโดยปลูกฝังแนวคิดด้านความปลอดภัย ตลอดจนสร้างทักษะและความสามารถในการขับขี่ระหว่างพนักงาน ผู้ขับขี่ตลอดห่วงโซ่คุณค่า และผู้คนในชุมชนเพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนใช้เส้นทางสาธารณะร่วมกันอย่างความปลอดภัย.
ลดเหลื่อมล้ำและความปลอดภัย more details…