Net Zero 2050

พัฒนานวัตกรรมเพื่อก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน
ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 (COP29) หนึ่งในประเด็นที่ประเทศไทยนำเสนอ คือการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ (Nationally Determined Contributions , NDCs ) เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 43 % จาก เป้าหมาย 30-40 % หรือ ราว 222 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
- เปลี่ยนผ่านพลังงาน จากเชื้อเพลิงฟอสซิลสู่พลังงานสะอาด
เอสซีจีได้ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) ในการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียสและพยายามจำกัดไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับระดับก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมปี 2564 ได้เข้าร่วมตั้งกรอบ Science Based Target initiative (SBTi) ซึ่งใช้เกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์มากำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยได้ยื่นเป้าหมายเพื่อตรวจสอบและให้สัตยาบันในปี 2566 และเข้าร่วมโครงการทดสอบมาตรฐานการทวนสอบข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก GHG Protocol ที่จัดโดย WBCSD และ UNGC ในปี 2563 รวมถึงตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซ GHG Scope 1 และ 2 ที่เป็นแหล่งปล่อยโดยตรงให้ได้ 20% ภายในปี 2574 เมื่อเทียบกับฐานปี 2564

การได้รับการรับรองจาก SBTi ถือเป็นก้าวสำคัญของเอสซีจีในการสร้างธุรกิจเพื่่อสังคมสีเขียว แต่่ยังคงมีความท้าทายอีกมาก ซึ่งจำเป็นต้องบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ทั้งองค์กรระดับประเทศและระดับโลก อาทิ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, World Business Council for Sustainable Development (WBCSD), สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UNGCNT), องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) เพื่อผลักดัน “ร่วม-เร่ง-เปลี่ยน ไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ” โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย
25.48 ล้านตัน
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2567 โดยมีเป้าหมายเป็นศูนย์ในปี 2593
25.59 %
การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 1 และ 2 ในปี 2567 โดยมีเป้าหมาย 25% ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2563
20.66 %
การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 3 จากการขายเชื้อเพลิงฟอสซิลให้ลูกค้าภายนอกในปี 2567 โดยมีเป้าหมาย 25% ภายในปี 2574เมื่่อเทียบกับปีฐาน 2564
7.91 %
การลดการใช้พลังงานในปี 2567 โดยมีเป้าหมาย 13% ภายในปี 2568 เมื่อเทียบกับกรณีปกติ ณ ปีฐาน 2550
เอสซีจีตระหนักถึงความสำคัญในการเปลี่ยนผ่านพลังงาน เนื่องจากในภาพรวมระดับประเทศ ภาคพลังงานมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึง 70% เมื่อเทียบกับภาคส่วนอื่นๆ ดังนั้นเอสซีจีจึงมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมาเป็นการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy, RE) และเชื้อเพลิงทดแทน (Alternative Fuel, AF) เพื่อมุ่งสู่การใช้ถ่านหินในกระบวนการผลิตเป็นศูนย์ (Zero Coal) และการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นศูนย์ (Zero Power) รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้ในวงกว้างทั้งระดับสภาอุตสาหกรรม หน่วยงานบริหารราชการส่วนจังหวัด ภาครัฐและภาคเอกชน และที่สำคัญที่สุดคือการยกระดับอุตสาหกรรมสีเขียวของประเทศไทยสู่สายตาองค์กรระดับโลก
การก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืนจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ปี 2567 เอสซีจี จึงวางกลยุทธ์และสร้างความตระหนักรู้ในการปรับเปลี่ยนสู่พลังงานสะอาดทั้งภายในประเทศและระดับโลกผ่านเวทีต่างๆ เช่น การจัดงาน ESG Symposium ประจำปี 2567 รวมถึงการแสดงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับภาครัฐในระดับนโยบาย เช่น มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CBAM) การบังคับใช้พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มุ่งบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2608 ของประเทศไทย
ขยายสัดส่วนการใช้พลังงานแสงอาทิตย์
เอสซีจีมุ่งติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ใช้ภายในโรงงานมาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันได้พัฒนาธุุรกิจ เอสซีจี คลีนเนอร์์ยี่่ ให้บริการด้านพลังงานสะอาดอย่างครบวงจรในภาคอุตสาหกรรม โดยมุ่งมั่นขับเคลื่อนการใช้พลังงานสะอาดเพื่อทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลให้ได้มากที่สุด เพื่อขยายการใช้พลังงานสะอาดให้กว้างขวางมากขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มการให้บริการพลังงานแสงอาทิตย์ผ่านระบบเครือข่ายไฟฟ้า Smart Grid และการร่วมกับภาครัฐในการผลักดันให้เกิด Grid Modernization ขึ้น รวมทั้งการพัฒนานวัตกรรมระบบกักเก็บพลังงาน (Heat Battery) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานความร้อนอย่างคุ้มค่า
- Smart Grid ด้วยข้อจำกัดของพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งต้องการพื้นที่สำหรับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ทำให้บางโรงงานไม่สามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์ หรืออาจติดตั้งได้บางส่วนแต่ไฟฟ้าพลังงานไม่เพียงพอ ขณะที่บางโรงงานอาจมีพื้นที่ว่างสำหรับการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ได้มากกว่าปริมาณพลังงานที่ตนเองต้องการใช้ เอสซีจีคลีนเนอร์จึงพัฒนาระบบบริหารจัดการเครือข่ายไฟฟ้า Smart Grid ผ่าน SCG Cleanergy Platform เชื่อมโยงการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าระหว่างผู้ประกอบการ โดยจ่ายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตเข้าสู่ระบบสายส่งที่เชื่อมกับโรงงานและระบบจ่ายไฟฟ้าส่วนภูมิภาคผ่าน SCG Cleanergy Platform ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าและข้อมูลคาร์บอนเครดิตสำหรับการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงงานได้ โดยเฉพาะการบริหารจัดการพื้นที่ภายในนิคมอุตสาหกรรมซึ่งมีหลายโรงงานตั้งอยู่ สามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และสนับสนุนโรงงานต่างๆ ให้ใช้พลังงานสะอาดได้มากขึ้น
292 เมกะวัตต์์
พลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งทั้งหมดภายในเอสซีจี
485 เมกะวัตต์
พลังงานไฟฟ้าหมุุนเวียนที่่ซื้อขายผ่านระบบ Smart Grid ของ เอสซีจี คลีนเนอร์์ยี่่ ให้แก่ภาครัฐและภาคเอกชน
รูปแบบของการติดตั้งโซลาร์เซลล์ มีทั้ง Solar Rooftop บนหลังคาโรงงานที่มีพื้นที่เหมาะสม Solar Farm ในเขตพื้นที่ว่างของโรงงาน และ Solar Floating หรือโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ บนแหล่งน้ำของโรงงานซึ่งพื้นที่ผิวน้ำไม่ได้ใช้ประโยชน์

- Energy Storage ข้อจำกัดอีกประการหนึ่งของพลังงานแสงอาทิตย์คือการกักเก็บพลังงานส่วนเกินที่ผลิตได้ช่วงเวลากลางวัน ให้สามารถนำไปตอบสนองการใช้พลังงานในช่วงเวลาอื่น หรือเปลี่ยนเป็นพลังงานในรูปแบบอื่นๆ เอสซีจีคลีนเนอร์จึงเข้าไปเป็นหนึ่งในผู้ลงทุนฮีตแบตเตอรี่ ซึ่งพัฒนาโดยกลุ่มสตาร์ตอัพจากประเทศสหรัฐอเมริกา ฮีตแบตเตอรี่เป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานความร้อนสะสมไว้ในฮีตแบตเตอรี่ จากนั้นสามารถนำมาแปลงเป็นพลังงานหมุนกังหันผลิตไฟฟ้าหรือใช้ในรูปไอน้ำอุณหภูมิสูงสำหรับบางอุตสาหกรรมได้ ซึ่งสามารถช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม โดยเอสซีจีอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เป็นแห่งแรกของโลกที่โรงงานท่าหลวง และในปี 2567 ได้เริ่มผลิตส่วนประกอบของฮีตแบตเตอรี่ส่งออกให้แก่บริษัทอุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกา
ร่วมมือเพื่อขับเคลื่อน Grid Modernization
ตามร่างแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) มีเป้าหมายผลิตพลังงานจากโครงข่ายไฟฟ้า Grid Modernization 1,000 เมกะวัตต์ อีกทั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานได้ประกาศโครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการด้านพลังงานที่ชื่อว่า ERC Sandbox
เอสซีจีเห็นถึงความสำคัญของนโยบายนี้ จึงเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อทดสอบการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าระหว่างภาคเอกชนโดยใช้สายส่งของภาครัฐเป็นต้นแบบ โดยในปี 2566 โครงการของ เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ ผ่านการคัดเลือก 4 โครงการ รวมทั้งหมด 6.308 เมกะวัตต์ และได้ทำสัญญาความร่วมมือแบบ PPP ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ ทดสอบการจ่ายไฟฟ้า และซื้อขายไฟฟ้าผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ จนประสบความสำเร็จในปี 2567
นอกจากนี้ เอสซีจียังมีแผนเข้าร่วมโครงการนำร่องการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนขนาด 2,000 เมกะวัตต์ ในรูปแบบการทำสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้าโดยตรง (Direct PPA) ผ่านการขอใช้บริการระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม (Third Party Access, TPA) เพื่อให้บริการพลังงานไฟฟ้าแก่บริษัทชั้นนำของโลกในอุตสาหกรรม Data Center ในปี 2568

ในอนาคตเมื่อสามารถขยายการเชื่อมโยงแหล่งพลังงานสะอาดจากระดับ Smart Grid เป็นโครงข่ายไฟฟ้า Grid Modernization ในระดับจังหวัดและภูมิภาค ก็จะเป็นโอกาสที่ประเทศไทยสามารถเดินหน้า สู่สังคมคาร์บอนต่ำได้อย่างยั่งยืน ซึ่งต้องอาศัยการขับเคลื่อนเชิงนโยบายและกฎหมายจากภาครัฐ โดยเอสซีจีมีความพร้อมในการพัฒนานวัตกรรม และความมุ่งมั่นที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตดังกล่าว

เพิ่มสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงทางเลือก
เอสซีจีพัฒนานวัตกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มการใช้เชื้อเพลิงทางเลือกหลากหลายประเภทมาใช้ในโรงงาน เพื่อทดแทนถ่านหินในสัดส่วนที่มากขึ้น ทั้งเชื้อเพลิงจากชีวมวล ซึ่งประเทศไทยเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่อุดมสมบูรณ์และมีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีขยะอุตสาหกรรมและขยะชุมชนที่สามารถนำไปแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกได้ในรูปของ Refuse Derived Fuel (RDF) เอสซีจียังส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานและรับซื้อพืชพลังงานมาเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกจากเกษตรกรและชุมชน เช่น หญ้าเนเปียร์ และไม้ ซึ่งมีส่วนช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชน และสร้างการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำร่วมกัน
- RDF เชื้อเพลิงทางเลือกที่ได้จากวัสดุเหลือใช้จากขยะอุตสาหกรรมและขยะชุมชน โดยเอสซีจีรวบรวมจากพื้นที่รอบโรงงานปูนซีเมนต์ในจังหวัดสระบุรี ลพบุรี กาญจนบุรี อยุธยา ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย นครศรีธรรมราช และนครราชสีมา นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตพลังงานความร้อนในโรงงานปูนซีเมนต์ ในปี 2567 เอสซีจีได้เพิ่มขีดความสามารถของเครื่องจักรให้สามารถรองรับ RDF ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันหลายประเภท และพัฒนาการแปรรูปพลาสติกมาเผาเป็นก๊าซเชื้อเพลิง ช่วยลดต้นทุนการย่อยพลาสติกและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงทางเลือกให้มากขึ้นด้วยเทคโนโลยี External Combustion Chamber
- Biomass เอสซีจี จัดหาเชื้อเพลิงชีวมวลด้วยการส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานและรับซื้อพืชพลังงานจากเกษตรกรด้วยระบบเกษตรพันธสัญญา เพื่อเพิ่มปริมาณสำรองของแหล่งเชื้อเพลิงชีวมวลให้มีจำนวนเพียงพอสำหรับอนาคต และพัฒนาเทคโนโลยีด้านเชื้อเพลิงชีวมวลให้สามารถใช้วัสดุทางการเกษตรที่นำมาเป็นเชื้อเพลิงได้ยาก เช่น ตอไม้ ข้าวโพด
28.59 %
การใช้เชื้อเพลิงทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลในปี 2567 30.17 ล้านตันลดการปล่่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 3.21ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
เหง้ามันสำปะหลังรวมทั้งหญ้าเนเปียร์ ซึ่งมีความชื้นสูง สามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวลที่มีคุณภาพสูงขึ้นได้ โดยนำมาแปรรูปเป็นเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวล (Energy Pellets) ซึ่งเหมาะสำหรับอุตสาหกรรมที่ต้องการเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพคงที่ รวมทั้งการผลิต Biocoal จากชีวมวล
ทั้งนี้ เอสซีจีได้ทดลองส่งเสริมการปลูกพืชพลังงาน เช่น ไผ่ และหญ้าเนเปียร์ ที่จังหวัดสระบุรี ตามโครงการ “สระบุรี แซนด์ บอกซ์” เพื่อให้พืชพลังงานเป็นทางเลือกของเกษตรกรที่มีตลาดรองรับ และมีรายได้จากราคาผลิตผลที่ไม่ผันผวนมากนัก นอกจากนี้ เอสซีจีขยายผลการส่งเสริมเกษตรกรปลูกหญ้าเนเปียร์ไปที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เพื่อแทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจะช่วยลดปัญหา PM 2.5 จากการเผาเศษซากวัสดุทางการเกษตร นอกจากนี้ ได้ร่วมมือกับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) จังหวัดสระบุรี และจังหวัดลำปาง ในการทดลองปลูกสวนไผ่
เอสซีจีร่วมพัฒนาพลังสะอาดในโครงการสระบุรี แซนด์บ็อกซ์

- ร่วมส่งเสริมให้อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในจังหวัดสระบุรีใช้เชื้อเพลิงทดแทนและพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นเป็น 26%
- ร่วมกับมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันศึกษาศักยภาพพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ในการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด
- ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคติดตั้ง Solar Carport ขนาด 412 กิโลวัตต์ บริเวณที่จอดรถศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี ในรูปแบบ ESCO Model และ Solar Floating ที่ทะเลสาบบึงบ้านช้าง อำเภอบ้านหมอ บนพื้นที่ขนาด 154 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่บ่อน้ำดิบของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด
- ร่วมกับคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชพลังงาน โดยเฉพาะหญ้าเนเปียร์ที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี พื้นที่กว่า 100 ไร่ สามารถแปรรูปเป็นพลังงานทดแทนได้ 2,100 ตัน สร้างรายได้ให้เกษตรกร 2.5 ล้านบาทต่อปี และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 2,500 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
2. ผู้นำปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำ เดินหน้าสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
การเพิ่มสินค้าคาร์บอนต่ำถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่จะช่วยให้เอสซีจีบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 และการบรรลุเป้าหมายเดียวกันนี้ของประเทศไทยก็จำเป็นต้องยกระดับอุตสาหกรรมให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียวหรืออุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ เอสซีจีจึงมุ่งพัฒนานวัตกรรมสินค้าคาร์บอนต่ำและเร่งสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อผลักดันมาตรฐานด้านการผลิตของภาคอุตสาหกรรมและการบริโภคอุปโภคของสังคมให้มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำไปพร้อมกัน
ปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำ ตอบโจทย์ สิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรม
เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันส์ พัฒนานวัตกรรมปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มพัฒนาปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำรุ่น 1 ซึ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 10% เมื่อเทียบกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (Ordinary Portland Cement, OPC) จนตลาดและภาคอุตสาหกรรมมีความต้องการและมั่นใจในคุณภาพของปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำมากขึ้น จากนั้นจึงพัฒนาปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำรุ่น 2 โดยเพิ่มวัสดุคุณภาพสูง (Supplementary Cementitious Materials, SCMs) มาทดแทนปูนเม็ด จนสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 15-20% เมื่อเทียบกับปูน OPC ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำรุ่น 3 ซึ่งตั้งเป้าหมายให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 40-50% เมื่อเทียบกับปูน OPC แม้จะยังมีความท้าทายในการแข่งขันกับตลาดโลก เอสซีจียังคงมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการใช้วัตถุดิบเชื้อเพลิงและพลังงานทางเลือกเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนอย่างมีประสิทธิภาพพร้อมขยายตลาด Low Carbon Concrete ผ่านความร่วมมือกับผู้พัฒนารายสำคัญ ได้แก่
- AP Thailand: ใช้ในงานโครงสร้างของโครงการบ้านแนวราบมากกว่า 56 โครงการ
- Property Perfect: ใช้ในโรงงาน Precast ทั่วประเทศ
- Supalai: ใช้ในโครงการคอนโดมิเนียมมากกว่า 18 โครงการ
ความสำเร็จเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยคาร์บอน ควบคู่กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำสู่มาตรฐานสากล
เอสซีจีมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้นำด้านวัสดุก่อสร้าง ที่มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ (Low Carbon Products) เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายความยั่งยืนระดับโลก ในฐานะผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายแรกที่ได้รับฉลาก Environmental Product Declaration (EPD) ในสหรัฐอเมริกา เอสซีจีได้ส่งออกปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำแล้วกว่า 1 ล้านตัน และในปี 2567 มีแผนขยายการรับรอง EPD ครอบคลุม 53 รายการในตลาดภายในประเทศ ได้แก่
- ซีเมนต์ จำนวน 8 รายการ
- มอร์ตาร์ จำนวน 10 รายการ
- คอนกรีต จำนวน 27 รายการ
- สินค้าส่งออก จำนวน 8 รายการ
นอกจากนี้ เอสซีจีเตรียมขอรับรอง EPD ในตลาดอเมริกาเหนือ สำหรับผลิตภัณฑ์ในเวียดนามอีก 2 รายการ พร้อมขยายฐานตลาดสู่อาเซียนและระดับโลก ตอกย้ำความเป็นบริษัทแรกที่ได้รับฉลาก EPD ครบทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ สะท้อนถึงความโปร่งใสและความมุ่งมั่นในการรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างครบถ้วน
ยกระดับนวัตกรรมคาร์บอนต่ำ
เอสซีจีเดินหน้าสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านกลยุทธ์ที่หลากหลาย นอกเหนือจากการพัฒนาปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำ เอสซีจียังใช้ Green Loan เป็นเครื่องมือสำคัญในการสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับในฐานะผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- รุกตลาดตะวันออกกลางด้วย 3D Printing Mortar เอสซีจีเป็นรายแรกที่พัฒนา 3D Printing Mortar จากปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำซึ่งได้รับการพัฒนาและจดสิทธิบัตรมากว่าหนึ่งทศวรรษ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 15% โดยปรับกลยุทธ์ธุรกิจจากการให้บริการ 3D Printing Construction เป็นการจำหน่าย 3D Printing Mortar พร้อมบริการด้านเทคนิค (Technical Service) ซึ่งช่วยขยายโอกาสในตลาดตะวันออกกลาง ปัจจุบันเอสซีจีประสบความสำเร็จในการส่งออกปูนมอร์ตาร์ล็อตแรก
- ไปยังประเทศซาอุดิอาระเบียและมีแผนขยายตลาดไปยังเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (SAMEA) เพื่อตอบรับความต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมก่อสร้างในภูมิภาคพร้อมขยายผลิตภัณฑ์ 3D Printing ครอบคลุมทั้งเฟอร์นิเจอร์และงานก่อสร้างเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายระดับโลก
- ผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เน้นการนำวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่เพื่อลดปริมาณขยะและลดการปล่อยคาร์บอน เอสซีจีให้ความสำคัญกับ Circular Economy โดยมุ่งพัฒนาแนวทางการนำวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์ เช่น การนำเถ้าลอยจากโรงไฟฟ้ามาเป็นส่วนผสมในปูนซีเมนต์ ช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขณะที่ยังคงรักษาคุณภาพสินค้าได้คงเดิม

512,431 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
การผลิตปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำของเอสซีจีในปี 2567 ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- คอนกรีตสมรรถนะสูงพิเศษ (UHPC) เอสซีจีร่วมมือกับหน่วยงานราชการและภาคเอกชนในการพัฒนาเทคโนโลยีวัสดุ ข้อกำหนด และการก่อสร้างที่ใช้ Ultra-High Performance Concrete (UHPC) เช่น คานสะพาน รอยต่อสะพาน คานสำหรับคลังสินค้าหรือโรงงาน และทางเท้าแบบบางพิเศษสำหรับถนน เพื่อเพิ่มความทนทาน ลดปริมาณการใช้วัสดุ และก่อสร้างได้อย่างรวดเร็ว
เนื่องจาก UHPC สามารถรับแรงดัดได้สูง จึงมีความทนทานสูงมาก เหมาะสำหรับโครงสร้างที่ต้องรับน้ำหนักสูงหรือลดขนาดโครงสร้าง นอกจากนี้ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 20-60% และช่วยลดต้นทุนจากปริมาณวัสดุที่ใช้ก่อสร้างน้อยลง และการบำรุงรักษาที่ลดลงเนื่องจากน้ำซึมผ่านได้ยาก ทำให้เหล็กไม่เป็นสนิม ส่งผลให้สิ่งปลูกสร้างมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ทำให้ Lift-cycle Cost ลดลง
ปัจจุบัน เอสซีจี ได้นำ UHPC ไปใช้ในหลายโครงการ เช่น สะพานภายใน SCG สำนักงานใหญ่บางซื่อ, สะพานเหลือง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช, สะพานถนนสาย รย.4060 อำเภอเขาชะเมา แก่งหางแมว จังหวัดระยอง-จันทบุรี และอาคาร CCTC Workshop CPAC บางซ่อน ทั้งนี้ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาการใช้ UHPC ในโครงการของภาครัฐและเอกชนกับหลายองค์กร
การเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ

ในปี 2567 เอสซีจี หนึ่งในสมาชิกของสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี และจังหวัดสระบุรี ยกระดับโครงการสระบุรีแซนด์บอกซ์ เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำ เข้าร่วมโครงการคลัสเตอร์อุตสาหกรรมที่กำลังเปลี่ยนผ่าน (Transitioning Industrial Clusters Initiative) ของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum, WEF) โดยเป็นคลัสเตอร์อุตสาหกรรมแห่งแรกของประเทศไทย อันดับที่ 3 ในภูมิภาคอาเซียน และอันดับที่ 21 ของโลกที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวของสภาเศรษฐกิจโลก เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำผ่านการพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน (Public Private People Partnership) ซึ่งถือเป็นความท้าทายที่สำคัญ
นอกจากนี้ เอสซีจียังได้ร่วมกับสมาคมซีเมนต์และคอนกรีตโลก (Global Cement and Concrete Association, GCCA) ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสีเขียวจากรัฐบาลแคนาดา ซึ่งให้แก่อุตสาหกรรมซีเมนต์และคอนกรีตผ่านองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Industrial Development Organization, UNIDO) เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมซีเมนต์และคอนกรีตของประเทศไทยไปสู่เป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2593
3. การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อมุ่งสู่ Net Zero
เทคโนโลยีการดักจับ กักเก็บ และใช้ประโยชน์คาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage, CCUS) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเอสซีจีลง 48% ซึ่งปัจจุบันการลงทุนในเทคโนโลยีนี้มีราคาสูง เอสซีจีจึงได้เริ่มนำเครื่องมือ Marginal Abatement Cost Curve (MACC) มาช่วยประเมินความคุ้มค่าของการลงทุนในโครงการต่างๆ และประเมินความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว เช่น พื้นที่สำหรับการฝังเก็บคาร์บอน ระบบขนส่ง และการสนับสนุนจากภาครัฐ ทั้งทางด้านกฎหมายและเงินทุน
การผลิตไฮโดรเจน: ศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีผลิตไฮโดรเจนในราคาที่สามารถแข่งขันได้ และการนำไฮโดรเจนมารวมกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดักจับได้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง โดยหาแหล่งทุนจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- Oxyfuel: เอสซีจีศึกษา วิจัย เทคโนโลยีออกซิฟิว (Oxyfuel) เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ โดยเปลี่ยนการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลร่วมกับอากาศ เป็นการเผาไหม้ร่วมกับออกซิเจนบริสุทธิ์ ซึ่งจะทำให้ได้อุณหภูมิสูงขึ้น โดยก๊าซไอเสียลดลง ทำให้สะดวกต่อการดักจับคาร์บอนง่ายขึ้น จึงนับเป็นการเตรียมความพร้อมของโรงงานในการเปลี่ยนผ่านสู่โซลูชันการดักจับคาร์บอนขั้นสูงในอนาคต นอกจากนี้ การใช้ Oxyfuel ยังช่วยลดมลพิษอื่นๆ ที่ได้จากการเผาไหม้ในอากาศ เพิ่มประสิทธิภาพของการใช้เชื้อเพลิงทางเลือก เช่น เชื้อเพลิงชีวมวล ทำให้ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลลงด้วย
- Biochar Carbon Removal: Green Circular Business: ได้พัฒนาเทคโนโลยี Biochar สำหรับ
การกำจัดคาร์บอน โดยเทคโนโลยีนี้เป็นการแปลงเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (Biomass Waste) ให้เป็น Biochar ที่สามารถใช้สำหรับปรับปรุงคุณภาพดินและคอนกรีต เพื่อการกักเก็บคาร์บอนระยะยาว โดยในการนี้ บริษัทผลิตภัณฑ์และวัสดุก่อสร้าง จำกัด (CPAC) ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU) ในการพัฒนา Biochar Concrete ที่นำมาใช้ก่อสร้างชั้นรองผิวทางถนนและลานจอดรถขนาด 4,900 ตรม. ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โครงการนี้ยังเป็นแบบอย่างในการขยายผลและหวังว่าจะช่วยลดปัญหาฝุ่น PM2.5 ในภาคเหนือได้อีกด้วย นอกจากนี้ในปี 2567 SCG ได้รับทุนจาก Japan Carbon Frontier Organization (JCOAL) ประเทศญี่ปุ่น เพื่อศึกษาการแปลงเศษวัสดุทางการเกษตรในประเทศไทยเป็น Biochar ที่จะใช้เป็นพลังงานทดแทนถ่านหิน และเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนในทั้งดินและคอนกรีต ซึ่งเป็นก้าวที่สำคัญในการส่งเสริมความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม