ร่วมมือ รวบรวม และคัดแยก จุดเริ่มต้นของเศรษฐกิจหมุนเวียน

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลกถูกนำมาใช้สร้างประโยชน์เพื่อคนในสังคมอยู่ทุกขณะสิ่งแวดล้อมเปลี่ยน โลกวิกฤต ด้วยความจำกัดของทรัพยากร เส้นทางการหมุนเวียนทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดพร้อมกับลดการใช้ทรัพยากร เพื่อรักษาสมดุลไว้อย่างยั่งยืนจึงสำคัญยิ่ง

จากทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกแปรรูปเป็นสิ่งของเครื่องใช้และจบลงที่การเป็นขยะของเสีย หากไม่มีการจัดการรวบรวมจากบ้าน ชุมชน อาคารสำนักงาน หรือแหล่งทิ้งกองขยะของเสียต่างๆ ขยะก็ยังเป็นขยะ และเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมการรวบรวมและคัดแยกขยะของเสียจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่อาจดูเล็กๆ แต่หากทำให้แพร่หลายเป็นวงกว้าง การหมุนเวียน
ทรัพยากรเพื่อกลับมารีไซเคิลก็จะเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง
เอสซีจีได้ริเริ่มรังสรรค์โครงการหลากหลายรูปแบบและสร้างความร่วมมือกับทั้งพนักงานภายในและหน่วยงานภายนอก ทั้งภาครัฐ เอกชน ตลอดจนชุมชนต่างๆ เพื่อเก็บรวบรวมของเสียกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลให้ได้มากที่สุด

บางซื่อโมเดล ความร่วมมือของพนักงานเอสซีจี
เอสซีจีเริ่มต้นปฏิบัติอย่างจริงจังภายในองค์กรด้วยโครงการ “บางซื่อโมเดล” ในปี 2561 ส่งเสริมให้พนักงานของ เอสซีจีภายในสำนักงานใหญ่ บางซื่อ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตาม แนวทาง “ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก” เริ่มตั้งแต่ลดขยะแก้ว พลาสติกโดยนำกระบอกน้ำส่วนตัวมาใส่น้ำดื่ม ลดขยะขวดน้ำ ด้วยการใช้โถน้ำและแก้วน้ำ พัฒนาถังขยะ 6 สีที่ดูเข้าใจง่ายมา ช่วยให้พนักงานคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้องความร่วมมืออย่างเข้มแข็งของพนักงานเอสซีจีทำให้โครงการบางซื่อโมเดลสามารถลดปริมาณขยะลงอย่างต่อเนื่องทุกเดือน และนำขยะที่แยกประเภทแล้วไปรีไซเคิลได้เพิ่มมากขึ้น

โดยมีเป้าหมายให้ในปี 2564 สำนักงานใหญ่ บางซื่อ ไม่เหลือขยะที่ต้องนำไปฝังกลบ (Zero Waste to Landfill)
จากความสำเร็จของโครงการบางซื่อโมเดลที่สามารถลดปริมาณขยะฝังกลบ และเพิ่มปริมาณขยะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้จริงในสำนักงานใหญ่ บางซื่อ เอสซีจีจึงถอดบทเรียนและนำไปขยายผลการจัดการขยะสู่ชุมชน โดยเริ่มทำโครงการนำร่องในพื้นที่รอบโรงงานในจังหวัดระยองและจังหวัดราชบุรีและขยายผลสู่โรงงานคู่ธุรกิจ ลูกค้า และสังคมภายนอกเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีให้กับการจัดการขยะของทั้งประเทศ

ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะความร่วมมือกับชุมชนจังหวัดระยอง
เอสซีจีขยายผลการจัดการขยะสู่ชุมชนโดยเริ่มทำโครงการนำร่องกับชุมชนในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยองภายใต้โครงการ “ชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” โดยใช้แนวทางของบางซื่อโมเดลคือ “ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก” และสร้างความร่วมมือในชุมชนตามแนวทาง “บวร” ได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน จัดการขยะอย่างถูกต้องตั้งแต่ต้นทาง เชื่อมโยงกับธนาคารขยะชุมชนที่เอสซีจีสนับสนุนการบริหารจัดการด้วยแอปพลิเคชัน “คุ้มค่า” (KoomKah) เพื่อสร้างโมเดลหรือต้นแบบการจัดการขยะของชุมชนอย่างบูรณาการทั้งระบบ

เริ่มต้นกันที่ “บ้าน” ชุมชนร่วมกันคัดแยกขยะเปียกออกจากขยะแห้ง และแยกขยะตามประเภทของวัสดุ เช่น ขวดพลาสติกขวดแก้ว กระป๋อง ฯลฯ ทำความสะอาดถุงพลาสติก โดยมีประธานชุมชนประสานงานขายขยะให้กับธนาคารขยะเขาไผ่สร้างรายได้ให้กับชุมชน
“วัด” สร้างองค์ความรู้เรื่องการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าให้พระภิกษุ สามเณร และชุมชนใกล้เคียงที่มาทำบุญที่วัด โดยมีประธานชุมชนโขดหิน 2 รับขยะจากวัดไปจำหน่ายกับธนาคารขยะ และนำรายได้มาเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์

“โรงเรียน” ปลูกฝังเนื้อหาเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนในการเรียนการสอนและนำมาปฏิบัติจริง เช่น โรงเรียนวัดโขดหินมิตรภาพที่ 42 สอนให้นักเรียนล้างถุงนม รวมถึงแยกขยะและทิ้งลงในถังให้ถูกประเภท เพื่อเตรียมนำไปรีไซเคิลต่อ สำหรับ “ธนาคารขยะในชุมชน” เป็นแหล่งให้ความรู้ขยะประเภทต่างๆ และรับขยะจากบ้าน วัด และโรงเรียน โดยใช้แอปพลิเคชัน KoomKah บริหารจัดการขยะแบบครบวงจร ช่วยเพิ่มมูลค่าให้ขยะและเพิ่มช่องทางจำหน่ายขยะไปยังโรงงานรีไซเคิล ปี 2563 มีจำนวนความร่วมมือ 36 กลุ่ม ธนาคารขยะเพิ่มขึ้นเป็น 10 แห่ง มีสมาชิก 2,697 คน รวมขยะที่รวบรวมได้ ทั้งหมด 97.8 ตัน

จากบ้านรางพลับ ขยายผลสู่ “บ้านโป่งโมเดล”
ตัวอย่างความสำเร็จหนึ่งในการขับเคลื่อน “ชุมชน LIKE(ไร้) ขยะ” คือโครงการชุมชนต้นแบบตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนอำเภอบ้านโป่ง หรือ “บ้านโป่งโมเดล” จังหวัดราชบุรีซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากชุมชนต้นแบบบ้านรางพลับ ซึ่งเอสซีจีได้เข้าไปส่งเสริมความรู้และอุปกรณ์ในการจัดการขยะอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2558 และได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศในปี 2562จากการประกวดโครงการชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

“เราอยากให้มีชุมชนแบบชุมชนบ้านรางพลับเกิดขึ้น อยากให้ขยะทั่วไปที่มีอยู่มาก โดยเฉพาะขยะอินทรีย์ลดลง สร้างจิตสำนึกให้คนบ้านโป่งรู้จักการจัดการขยะให้ถูกวิธี” ชญานิน จำปาทอง ตัวแทนท้องถิ่นอำเภอบ้านโป่ง กล่าวถึงที่มาของโครงการบ้านโป่งโมเดล

“องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บขยะ ชุมชนสามารถนำขยะรีไซเคิลมาเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ให้ชุมชน” วันนี้หากใครเดินทางเข้าไปเยี่ยมชมในชุมชนหลายแห่งของอำเภอบ้านโป่ง เช่น บ้านอ้ออีเขียว บ้านหนองไม้เฝ้า ฯลฯ ก็จะพบกับการนำขยะมารีไซเคิล เช่น ทำปุ๋ยปลูกพืชสวนครัวอินทรีย์ทำสินค้าหัตถกรรมจำหน่าย ฯลฯ ทำให้ชุมชนมีสุขอนามัยที่ดีขึ้นจากเดิมที่มีปัญหากองขยะเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค โดยชุมชนบ้านหนองไม้เฝ้าได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดโครงการชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมประจำปี 2563
เอสซีจี มุ่งหวัง ให้ “บ้านโป่งโมเดล” สามารถสร้างรปู แบบการจัดการขยะชุมชนระดับอำเภอที่มีประสิทธิภาพ เกิดกลไกความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะของประเทศและขับเคลื่อนชุมชนต้นแบบการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ในปี 2563 เกิดชุมชนไร้ขยะต้นแบบขึ้นทั้งหมด 41 ชุมชน และตั้งเป้าขยายผลให้ครบทั้ง 183 ชุมชนของอำเภอบ้านโป่งในปี 2565

ในปี 2563 เอสซีจีร่วมกับชีวาทัย แสนสิริ และ พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จัดทำโครงการคัดแยกขยะก่อนทิ้งในโครงการที่อยู่อาศัย นำเศษกระดาษและบรรจุภัณฑ์กระดาษใช้แล้วกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
ร่วมกับไปรษณีย์ไทย จัดทำโครงการ “ไปรษณีย์ reBOX” เปิดจุดรับบรรจุภัณฑ์กระดาษใช้แล้ว ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกสาขาทั่วประเทศ เพื่อรวบรวมให้เอสซีจีนำกลับมารีไซเคิลผลิตชุดโต๊ะและเก้าอี้กระดาษ มอบเป็นของขวัญปีใหม่ 2564 แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทั่วประเทศ 220 แห่ง

ปี 2563 มีพันธมิตรรวมกว่า 60 ราย รวบรวมเศษกระดาษได้ 150 ตันกลับมารีไซเคิลในโรงงานของเอสซีจี
“จริงๆ กระดาษทุกชิ้นไม่ใช่ขยะ แต่มันคือสิ่งของที่ก่อให้เกิดประโยชน์ สามารถนำไปรีไซเคิลออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อใช้ในชุมชน และมอบให้ชุมชนข้างเคียง” ภูเบศร์ สำราญเริงจิต รองผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า บริษัทชีวาทัย จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นต่อโครงการที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือกับเอสซีจี

จัดเก็บขยะพลาสติกPPP Plastics โครงการความร่วมมือระดับประเทศ
ขยะพลาสติกในทะเลเป็นปัญหาสำคัญของโลกและประเทศไทยซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหารที่ปนเปื้อนไมโครพลาสติก การเก็บรวบรวมขยะพลาสติกคืนกลับสู่กระบวนการรีไซเคิลจึงเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการแก้ไขปัญหา “การนำถุงที่ใช้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นถุงบรรจุอาหาร ถุงพลาสติกทำให้สะอาดกลับมารีไซเคิล ผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้ใหม่ซึ่งเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถวนได้หลายรอบ จะช่วยประหยัดทรัพยากร ช่วยลดปัญหาพลาสติกสู่ทะเลและสิ่งแวดล้อมได้”

ภราดร จุลชาต ประธานกิตติมศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานคนแรกของโครงการ PPP Plastics เล่าถึงแนวคิดสำคัญของโครงการ “โครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมเพื่อจัดการพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน” หรือ PPP Plasticsก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2561 โดยกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงาน ภาคประชาสังคม และหน่วยงานภาคเอกชนชั้นนำมากมาย ซึ่งทุกองค์กรเล็งเห็นปัญหา และมีเจตนารมณ์ร่วมกันในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก ทั้งนี้เอสซีจีมีส่วนร่วมก่อตั้งและผลักดันโครงการต่างๆ ของ PPP Plastics มาโดยตลอด

PPP Plastics ตั้งเป้าหมายลดปริมาณขยะพลาสติกในทะเลไทยลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ภายในปี 2570 โครงการที่สำคัญในปี 2563 คือ “โครงการมือวิเศษ x วน” ซึ่งได้ติดตั้ง “Drop Point ถังวนถุง” ทั่วเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล จังหวัดระยอง และสุพรรณบุรี มากกว่า 350 จุด เพื่อสร้างความร่วมมือกับประชาชนรวบรวมและคัดแยกขยะ ถุงและบรรจุภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกชนิดอ่อนที่ไม่ใช้แล้ว เช่น ถุงหูหิ้วถุงน้ำแข็ง ฟิล์มห่อสินค้า ฯลฯ นำกลับมารีไซเคิลผลิตถุงพลาสติกที่ใช้งานซ้ำได้อีกหลายครั้ง นอกจากนี้โครงการจะมอบเงินบริจาคให้แก่องค์กรที่ทำงานเพื่อสังคมต่างๆ จำนวน 5 บาทต่อน้ำหนักพลาสติกที่รวบรวมได้ 1 กิโลกรัม

จัดเก็บเศษกระดาษและบรรจุภัณฑ์ ความร่วมมือกับคนเมือง
เศษกระดาษเป็นวัสดุรีไซเคิลประเภทหนึ่งที่เราให้ความสำคัญและได้พัฒนาระบบ Digital Platform จัดเก็บเศษกระดาษหรือบรรจุภัณฑ์กระดาษใช้แล้วกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลผ่านแอปพลิเคชัน โดยสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรโครงการอาคารที่อยู่อาศัย และชุมชนต่างๆ ในเมือง ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของคนจ􀀏ำนวนมากและมีขยะจำนวนมหาศาล

เปลี่ยนเศษหัวเสาเข็มเป็นวัสดุก่อสร้าง ขยายความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง
“อุตสาหกรรมก่อสร้างเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัสดุจำนวนมากในการก่อสร้าง ในระบบอุตสาหกรรมทั่วไปจะมีของเสียอยู่ประมาณ 20% ถ้าจัดการให้เหลือสัก 5-10% ก็จะเกิดประโยชน์กับโลกสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจอย่างมาก” นิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง กล่าวถึงปัญหาจากการก่อสร้างที่หลายคน อาจมองข้าม ทั้งขยะจากงานคอนกรีต เสาเข็มคอนกรีต และงานเหล็กที่กองเป็นขยะอยู่ตามพื้นที่ก่อสร้างของลูกค้าหรือเจ้าของโครงการ จากการส􀀏ำรวจคาดว่ามีปริมาณถึง 110,000 ตันต่อปี ซึ่งมาจากการทุบทำลาย การก่อสร้าง และจากการสำรองวัสดุก่อสร้างมากเกินไป เอสซีจีจึงสร้างสรรค์นวัตกรรมในการยกระดับงานก่อสร้างโดยให้ CPAC Construction Solution พัฒนาเทคโนโลยีที่มาช่วยลดของเสียในงานก่อสร้าง เช่น การนำเทคโนโลยี Building

เปลี่ยนเศษหัวเสาเข็มเป็นวัสดุก่อสร้าง ขยายความร่วมมือภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง
“อุตสาหกรรมก่อสร้างเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัสดุจำนวนมากในการก่อสร้าง ในระบบอุตสาหกรรมทั่วไปจะมีของเสียอยู่ประมาณ 20% ถ้าจัดการให้เหลือสัก 5-10% ก็จะเกิดประโยชน์กับโลกสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจอย่างมาก” นิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง กล่าวถึงปัญหาจากการก่อสร้างที่หลายคน อาจมองข้าม ทั้งขยะจากงานคอนกรีต เสาเข็มคอนกรีต และงานเหล็กที่กองเป็นขยะอยู่ตามพื้นที่ก่อสร้างของลูกค้าหรือเจ้าของโครงการ จากการสำรวจคาดว่ามีปริมาณถึง 110,000 ตันต่อปี ซึ่งมาจากการทุบทำลาย การก่อสร้าง และจากการสำรองวัสดุก่อสร้างมากเกินไป เอสซีจีจึงสร้างสรรค์นวัตกรรมในการยกระดับงานก่อสร้างโดยให้ CPAC Construction Solution พัฒนาเทคโนโลยีที่มาช่วยลดของเสียในงานก่อสร้าง เช่น การนำเทคโนโลยี Building Information Modeling (BIM) มาช่วยในการออกแบบและช่วยควบคุมงาน หรือการนำเศษเสาเข็มคอนกรีตมาผ่านเทคโนโลยีการบดย่อยแบบ Mobile ภายในพื้นที่งานก่อสร้างเพื่อนำกลับมาเป็นวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ (Recycled Coarse Aggregate, RCA) หรือการส่งเศษเสาเข็มออกไปทำการย่อยที่ Waste Hub ที่จัดเตรียมไว้สำหรับในกรณีที่พื้นที่ก่อสร้างไม่มีพื้นที่เพียงพอให้เครื่อง Mobile เข้าไปได้
ปัจจุบันมีโครงการที่ร่วมจัดการ Waste จากเสาเข็มคอนกรีตไปแล้วมากกว่า 7 โครงการ มีการนำหัวเสาเข็มกลับมาใช้
มากกว่า 5,400 ตัน
เอสซีจีมุ่งมั่นในการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เกิดขึ้นจริงในทุกกลุ่มธุรกิจ บริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการส่งเสริมการแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง และการใช้นวัตกรรมมาสนับสนุนธุรกิจจัดการขยะและการพัฒนาผลิตภัณฑ์รีไซเคิลด้วยความตระหนักดีว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดของความสำเร็จคือการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อพลิกกองขยะให้เกิดคุณค่า ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน