สิทธิมนุษยชน
การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
เอสซีจี มีอุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมและยึดหลักอุดมการณ์ 4 เป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจโดยกำหนดเรื่องสิทธิมนุษยชนและแรงงานไว้ในจรรยาบรรณเอสซีจีตั้งแต่ปี 2530 และมีการทบทวนให้เป็นปัจจุบัน สอดคล้องกับมาตรฐานสากล สะท้อนให้เห็นถึงการเคารพสิทธิมนุษยชน ปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ ครอบคลุมทุกกิจกรรมทางธุรกิจของเอสซีจี (Direct Activity) รวมถึงกิจกรรมของคู่ค้า คู่ธุรกิจในห่วงโซ่คุณค่า (Supplier/ Contractor in Business Value Chain) และผู้ร่วมธุรกิจ (Joint Venture)
จากการควบรวม และขยายธุรกิจในต่างประเทศ เอสซีจีจึงมุ่งมั่นยกระดับการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้งบริษัทที่เอสซีจีบริหารจัดการ คู่ค้า คู่ธุรกิจ และผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า รวมทั้งการลงทุนใหม่ทั้งในและต่างประเทศ
นอกจากนี้ ยังเข้าร่วมกับข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact: UNGC) ตั้งแต่ปี 2012 และยังคงเสริมสร้างการดำเนินงานและรายงานสอดคล้องตาม The United Nations Global Compact (UNGC) Communication on Progress ในระดับ Advanced เป็นประจำทุกปี
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในจรรยาบรรณเอสซีจี เรื่องสิทธิมนุษยชนและแรงงาน หน้า 17-19 และจรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจี
เป้าหมาย
- จำนวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นศูนย์
- สัดส่วนพนักงานหญิงในระดับจัดการเป็น 27% ในปี 2568
- 100% ของพนักงานผ่านการอบรมและทดสอบด้านสิทธิมนุษยชนผ่าน Ethics e-Testing
กลยุทธ์
- บูรณาการการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน การบริหารความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของบุคคลให้เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ ตลอดห่วงโซ่คุณค่าทั้งในและต่างประเทศ
- เสริมสร้างคุณค่า พัฒนา และต่อยอดโครงการการมีส่วนร่วมที่ยึดหลักการเคารพสิทธิมนุษยชน ให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตลอดห่วงโซ่คุณค่า และสังคมโดยรวม
- พนักงาน: การเคารพสิทธิเป็นหลักพื้นฐาน และยกระดับการบริหารความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างในองค์กร
- คู่ธุรกิจ: มุ่งเน้นการลดความเสี่ยงในการละเมิด และยกระดับคุณภาพชีวิตในสภาพแวดล้อมการทำงาน ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านแรงงาน สุขภาพ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดี
- คู่ค้า: ยกระดับกระบวนการจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่คุณค่า
- ชุมชน: สร้างการมีส่วนร่วมโดยยึดหลักการเคารพในสิทธิพื้นฐาน และยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี
- ลูกค้า: ส่งมอบสินค้า บริการ และโซลูชันที่มีคุณภาพ ความปลอดภัย ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐาน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี
- ผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ: บริหารจัดการความเสี่ยงสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งจากการละเมิดโดยตรง การมีส่วนร่วมในการละเมิด หรือมีความเกี่ยวข้องจากกิจกรรมของเอสซีจี ตลอดห่วงโซ่คุณค่า
- เป็นต้นแบบ แบ่งปัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนร่วมกับองค์กรอื่น
การบริหารจัดการ
- ประกาศและทบทวนนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน นโยบายด้านการบริหารความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของบุคคลที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลว่าด้วยข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNGC) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) หลักการชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนสำหรับธุรกิจแห่งสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) ปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) และข้อกำหนดสากลอื่นๆ และขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติผ่านคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี
- กำหนดกรอบการบริหารความเสี่ยงเป็นแนวทางเดียวกันทั่วทั้งองค์กร และดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Process) ผ่านการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องโดยเน้นการดำเนินงานเชิงรุกเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน
- กำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัด เพื่อติดตามผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
- มีกลไกการรับและตอบสนองต่อข้อร้องเรียน รวมถึงกำหนดมาตรการในการเยียวยาผลกระทบผ่านการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย กรณีเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน
- สื่อสาร อบรม เพื่อสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจแก่พนักงานทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงานปี 2566
- การละเมิดสิทธิมนุษยชน 1 ราย
- สัดส่วนพนักงานหญิงต่อพนักงานทั้งหมดเท่ากับ 24.0% โดยมีพนักงานจัดการที่เป็นหญิง 30.6%
- 100% พนักงานเรียนรู้และทดสอบด้านสิทธิมนุษยชนผ่าน Ethics e-Testing
ผลการดำเนินงานด้านความหลากหลายของพนักงาน
- สัดส่วนพนักงานหญิงต่อพนักงานทั้งหมด 24.0%
- สัดส่วนพนักงานหญิงในระดับจัดการ 30.6%
- สัดส่วนพนักงานหญิงในระดับจัดการระดับต้น 32.6%
- สัดส่วนพนักงานหญิงในระดับจัดการระดับสูง 14.7%
- สัดส่วนพนักงานหญิงในระดับจัดการในหน่วยงานที่สร้างรายได้ 27.1%
- สัดส่วนพนักงานหญิงในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี 27.2%
การบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน
เอสซีจีมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลอย่างเคร่งครัดตามหลักการของ United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: (UNGPs) 3 ประการ ดังนี้
ในปี 2566 คณะทำงาน Human Rights and Stakeholders Engagement ได้ทบทวนกรอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งแนวปฏิบัติการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
โครงการการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
พนักงาน
- “สร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานอย่างเข้าใจ” โดยร่วมมือกับบริษัทที่ปรึกษาภายนอก ทำความเข้าใจในเชิงลึกถึงประสบการณ์และความต้องการของพนักงานที่มีความหลากหลายโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้หญิง คนพิการ ผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+) และศาสนา เป็นต้น เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลในการจัดทำโครงการ และสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
- การบริหารจัดการความเสี่ยงสิทธิมนุษยชน
- การคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ มีการพัฒนาพนักงานที่ครอบคลุมทั้งทักษะการปฏิบัติงานและด้านความปลอดภัย และจัดสวัสดิการที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ เช่น การรักษาพยาบาล เป็นต้น นอกจากนี้ ยังจัดให้มีการสื่อสารโดยจัดให้มีล่ามแปลภาษา หรือจัดทำภาษาท้องถิ่นเพิ่มเติมในการสื่อสารที่สำคัญต่าง ๆ เช่น ประกาศ/ คำสั่ง การให้ข้อมูลข่าวสารเรื่องความปลอดภัยและสวัสดิการที่พึงได้รับ รวมถึงการเข้าถึงช่องทางการร้องเรียนเรื่องต่าง ๆ ภายใต้ระบบการบริหารงานเดียวกันของเอสซีจี
- สุขภาพและความปลอดภัย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านทาง Website: https://www.scgsustainability.com/th/health-and-safety/
- การฝึกอบรม พัฒนาความรู้เพื่อส่งเสริมความหลากหลายและยอมรับความแตกต่าง
- โครงการ ESG Leadership Program การอบรมและให้ความรู้แก่พนักงาน เพื่อสร้างความเข้าใจและปลูกฝังจิตสำนึกด้าน ESG ที่ครอบคลุมเรื่องสิทธิมนุษยชน ความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่างของบุคคลและรูปแบบของการเลือกปฎิบัติ และการคุกคามในสถานที่ทำงานให้กับกลุ่มผู้นำในอนาคตของเอสซีจี และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- Flagship programs โปรแกรมที่พัฒนาพนักงานในแต่ละระดับ และหลักสูตรที่พัฒนาพนักงานตามวิชาชีพและตามบทบาทหน้างาน ตลอดจนเสริมสร้างความตระหนักและความเข้าใจในความหลากหลายและยอมรับความแตกต่าง และความเท่าเทียม เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข
- จัดให้มี BE YOU Club การรวมกลุ่มของพนักงานเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดรับความหลากหลาย ซึ่งทุกคนสามารถแบ่งปันเรื่องราวสะท้อนจุดยืนความเป็นตัวตน และจัดกิจกรรม Live Talk ในหัวข้อ “เธอกับฉันกับฉัน เราอยู่กันเว้รี่แฮปปี้” เพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจในการยอมรับความแตกต่าง หลากหลาย สนับสนุนให้พนักงานทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข นอกจากนี้ มีช่องทางในการแนะนำและให้คำปรึกษาโดย ไลฟ์โค้ช และ SCG Diversity Committee
-
- มีการสื่อสารความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน (Basic knowledge) ให้พนักงานทุกระดับมีความรู้ ความเข้าใจและเกิดความตระหนักในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมากยิ่งขึ้น เช่น การล่วงละเมิด การเลือกปฏิบัติ ความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่าง เป็นต้น ผ่านหลายช่องทาง เช่น E-Mail, One page, Signage, VDO เป็นต้น
คู่ค้า คู่ธุรกิจ
เอสซีจีวางแผนการดำเนินการร่วมกับคู่ธุรกิจเพื่อยกระดับศักยภาพคู่ธุรกิจ ด้วยการส่งเสริมและบูรณาการแนวปฏิบัติด้านจริยธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
- ในปี 2565 มีการปรับปรุงเนื้อหาจรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจีให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน แนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของเอสซีจี และครอบคลุมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนมากยิ่งขึ้น อาทิ อิสระในการรวมกลุ่มและการเจรจาต่อรองและการตรวจสอบ ดูแลการละเมิดสิทธิมนุษยชน และสื่อสารให้คู่ค้า คู่ธุรกิจมีความเข้าใจในเจตนารมณ์ และแนวทางการดำเนินธุรกิจร่วมกัน จึงได้จัดงาน Supplier Day เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 ซึ่งมีการบรรยายเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นหนึ่งในหัวข้อที่สำคัญ และสนับสนุนการบูรณาการเรื่อง ESG เข้าไปในการดำเนินงานของคู่ธุรกิจ
- การประเมินความเสี่ยงสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่คุณค่า โดยประยุกต์ใช้กรอบการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรและดำเนินการตาม “กรอบการดำเนินงานด้านการจัดหาอย่างยั่งยืน เอสซีจี” ซึ่งครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) ในปี 2566 คู่ธุรกิจ 100% ของมูลค่าการจัดหาผ่านกระบวนการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG
- พัฒนาระบบ Supplier Portal เพื่อใช้ในการบริหารจัดการคู่ค้า คู่ธุรกิจ ส่งเสริมกระบวนการตรวจประเมินในประเด็นที่เกี่ยวข้องด้านสิทธิมนุษยชน เป็นช่องทางในการสื่อสาร รวมถึงการเข้าถึงระบบรับข้อร้องเรียน
- การพัฒนาความรู้ ความสามารถ จัดทำแผนพัฒนาและยกระดับความรู้ ความสามารถในการดำเนินงานของคู่ธุรกิจอย่างยั่งยืน ที่ครอบคลุมด้านสิทธิมนุษยชน เช่น การบริหารจัดการความปลอดภัยคู่ธุรกิจ โครงการพัฒนาคู่ธุรกิจขนส่ง และการบริหารความปลอดภัยสำหรับงาน Service Solutions
- การติดตามและการตรวจประเมิน
- 94% คู่ธุรกิจตามมูลค่าการจัดหาแสดงความมุ่งมั่นปฏิบัติตามจรรยาบรรณคู่ธุรกิจของเอสซีจี
- 100% คู่ธุรกิจขนส่งประจำได้รับการตรวจประเมิน
ผู้ร่วมธุรกิจ
เอสซีจีมุ่งหวังและส่งเสริมให้ผู้ร่วมธุรกิจ (Joint Ventures) ที่เอสซีจีไม่มีอำนาจในการบริหารสนับสนุนและเน้นย้ำถึงความสำคัญของความมุ่งมั่นต่อสิทธิมนุษยชน โดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
- การประเมินความเสี่ยงสิทธิมนุษยชน โดยทบทวนแบบสอบถามด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อติดตามสถานะการดำเนินงานเป็นประจำทุกปี และวางแผนร่วมกันในการให้การสนับสนุนการดำเนินงานจากเอสซีจี
- การพัฒนาความรู้ ความสามารถ มีการจัดอบรมให้ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนโดยบริษัทที่ปรึกษาภายนอก และแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานร่วมกับเอสซีจี
- การติดตามและการตรวจประเมิน 100% ผู้ร่วมธุรกิจ* ประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
หมายเหตุ: * หมายถึง ผู้ร่วมธุรกิจที่เอสซีจีถือหุ้น ≥ 10%
ชุมชน
สร้างโอกาสการศึกษา พัฒนาอาชีพมั่นคง เสริมสุขภาวะที่ดี เอสซีจีตั้งเป้าหมายลดความเหลื่อมล้ำ 50,000 คน ภายในปี 2573 ผ่านการดำเนินงาน ดังนี้
ด้านอาชีพ สร้างอาชีพในห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจเอสซีจี
•“โรงเรียนทักษะพิพัฒน์” ร่วมกับภาคีเครือข่ายพัฒนาทักษะด้านการขับขี่ ร่วมลดปัญหาอุบัติเหตุทางถนน สร้างอาชีพแก่ผู้ว่างงานและทหารปลดประจำการ
•“Q-CHANG” คิวช่าง ผู้นำแพลตฟอร์มศูนย์รวมช่างที่มุ่งยกระดับมาตรฐานฝีมือช่างผ่านการอบรมเสริมทักษะจากศูนย์ฝึกอบรมช่าง (Q-CHANG Academy) พัฒนาทักษะอาชีพช่างอิสระ สร้างแต้มต่อจากการพัฒนาทักษะให้ดีกว่าเดิม (Upskill) และสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็นต่อการทำงาน (Reskill) เพื่อต่อยอดไปสู่อนาคตที่ดีขึ้น
•“โครงการพลังชุมชน” ส่งเสริมชุมชนให้เห็นคุณค่าและพัฒนาศักยภาพตนเอง แปรรูปเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เข้าใจลูกค้าและตลาดก่อนผลิตและจำหน่าย บริหารจัดการความเสี่ยง สร้างภูมิคุ้มกัน อาชีพมั่นคง และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
”
ด้านการศึกษา
•มอบทุนการศึกษา Sharing the Dream ในประเทศไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และ สปป. ลาว มุ่งสนับสนุนเยาวชนที่ตั้งใจเรียน มีความประพฤติดี และมีจิตอาสา •โครงการ “Learn to Earn” โดยมูลนิธิเอสซีจีร่วมกับเครือข่าย พัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็น ทั้งทักษะอาชีพ (Hard skill) และทักษะทางสังคม (Soft skill) รวมถึงสร้างทักษะอาชีพที่คาดการณ์ว่ามีความต้องการสูงในอนาคต (Future skill) อาทิ นักพัฒนาโปรแกรม ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ นักบริบาลชุมชน
ด้านสุขภาวะ ส่งเสริมให้กลุ่มเปราะบางเข้าถึงบริการสาธารณสุข
•โครงการแพทย์ดิจิทัลดูแลผู้ป่วยทางไกล ผ่าน DoCare นวัตกรรมเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีผ่านระบบ Tele-monitoring ระบบติดตามสุขภาพเก็บข้อมูลอย่างแม่นยำและต่อเนื่อง และ Telemedicine ระบบปรึกษาแพทย์ทางไกล
•โครงการ “ราษฎรสุขใจ พลานามัยสมบูรณ์” แพทย์พระราชทานร่วมกับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์และภาคีเครือข่าย นำคณะจักษุแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและอุปกรณ์เครื่องมือการรักษาที่ทันสมัยให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคต้อกระจก เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ที่ไม่สามารถเข้าถึงการรักษา
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในรายงานประจำปี 2566 หน้า 108-110
รางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2565
เอสซีจีได้รับรางวัล “องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนประจำปี 2566 ระดับดีเด่น ประเภทองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
เข้าร่วมเป็นสมาชิก The Sedex Members Ethical Trade Audit (SEDEX)
SCGP เข้าร่วมเป็นสมาชิก The Sedex Members Ethical Trade Audit (SEDEX) ตั้งแต่ปี 2562 เป็นองค์กรที่รวมกลุ่มสมาชิกองค์กรธุรกิจทั่วโลก ซึ่งสมาชิกต้องมีระบบการบริหารจัดการอย่างมีจริยธรรมต่อพนักงานและแรงงานตามข้อกำหนดของ SEDEX ใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ มาตรฐานแรงงาน สุขภาพและความปลอดภัย จริยธรรมทางธุรกิจ และสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมทั้งภายในบริษัทของตนเองและคู่ธุรกิจ
2566 มี 12 บริษัทย่อยดำเนินการตามข้อกำหนด SEDEX และผ่านการตรวจประเมินจากผู้ตรวจประเมินภายนอก
เอกสาร DOWNLOAD
SCG Human Rights Expectation Letter
นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน
นโยบายด้านการบริหารความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของบุคคล
นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
นโยบายและแนวปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย
SCG Human Rights Due Diligence
ประกาศเจตนารมณ์ “ การส่งเสริมความเสมอภาคและขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
จรรยาบรรณเอสซีจี
จรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจี
WBCSD CEO Guide to Human Rights 2020