สุขภาพและความปลอดภัยเป็นหนึ่งในประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สำคัญ (Enterprise Materiality) ของเอสซีจี โดยบูรณาการเข้ากับแผนการดำเนินธุรกิจในระยะยาวที่อยู่ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานและคณะกรรมการความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง ซึ่งมีบทบาทในการกำหนดกลยุทธ์และติดตามอย่างสม่ำเสมอ 

เอสซีจีประกาศใช้ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของเอสซีจี (SCG Safety Framework) และกำกับดูแลด้วยการตรวจประเมินประสิทธิผลด้านความปลอดภัย (Safety Performance Assessment Program, SPAP) มาตั้งแต่ปี 2550 และยังคงยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลด้านความปลอดภัย และควบคุมมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการปราศจากการบาดเจ็บและเจ็บป่วยจากการทำงานอย่างยั่งยืนในที่สุด 

เป้าหมาย

  • จำนวนผู้บาดเจ็บถึงขั้นเสียชีวิตของพนักงานและคู่ธุรกิจเป็น 0 
  • อัตราการบาดเจ็บจากการทำงานถึงขั้นสูญเสียวันทำงานของพนักงานและคู่ธุรกิจเป็นศูนย์ทั้งในและต่างประเทศภายในปี 2567  
  • อัตราการเจ็บป่วยและโรคจากการทำงานของพนักงานเป็น 0  
  • ทุกบริษัทในเอสซีจีผ่านการตรวจประเมินประสิทธิผลด้านความปลอดภัย (SPAP)ตั้งแต่ระดับ Standard ขึ้นไป 

 กลยุทธ์

  1. ยกระดับการดำเนินการตามมาตรฐานการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย กฎพิทักษ์ชีวิต และการขนส่ง ให้เกิดประสิทธิผลครอบคลุมทั้งใน และต่างประเทศ 
  2. สร้างการมีส่วนร่วมและส่งเสริมคุณภาพในการค้นหาและจัดการความเสี่ยงด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยทั่วทั้งองค์กร 
  3. ปรับใช้ระบบ Safety Performance Management System (PMS) เพื่อให้มีการนำนโยบายความปลอดภัยไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และกำหนดเป้าหมายร่วมกันเพื่อใช้ในการประเมินผลด้านความปลอดภัย 
  4. นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเพิ่มประสิทธิภาพในการททำงานและให้สอดคล้องกับการเติบโตของธุรกิจ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บเจ็บป่วย และโรคจากการทำงาน 

การบริหารจัดการ

  • คณะกรรมการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานและคณะกรรมการความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง กำหนดนโยบาย กลยุทธ์แผนงานระยะสั้นระยะกลาง และระยะยาว เป้าหมายและตัวชี้วัด พร้อมทั้งประเมินดูแลติดตามการดำเนินงานตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายรวมถึงการวิเคราะห์ผลเพื่อปรับปรุงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 
  • รายงานผลการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยต่อคณะผู้บริหารระดับสูง คณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัท (Board of Director) ทุกไตรมาส 
  • สร้างให้เกิดกลไกการตรวจสอบตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดการแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยตนเองภายในองค์กร (Ownership & Continuous Improvement) 
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการ และสร้างผู้เชี่ยวชาญในแต่ละธุรกิจ พัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงานและคู่ธุรกิจ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีในการบริหารจัดการความเสี่ยงร่วมกันทั้งในและต่างประเทศ 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

ความปลอดภัยในที่ทำงาน (Workplace Safety)

SCG Safety Framework

SCG Safety Framework ประกอบไปด้วย 13 Elements ดังนี้

เพื่อบรรลุเป้าหมายการปราศจากการบาดเจ็บและเจ็บป่วยจากการทำงาน (Injury & Illness Free) ทุกบริษัทต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของ SCG Safety Framework

Element 1: วัฒนธรรมความปลอดภัย และความเป็นผู้นำของผู้บริหาร

ส่งเสริมเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเป็นค่านิยมหลักที่จำเป็นอย่างยิ่งในการทำงาน ผู้บริหารจึงมีบทบาทที่สำคัญ โดยต้องเป็นผู้นำ (Management Leadership) และให้การสนับสนุนการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม จนเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยของเอสซีจี ตามแนวปฏิบัติเรื่อง วัฒนธรรมความปลอดภัยและความเป็นผู้นำของผู้บริหาร (Safety Culture & Management Leadership Guideline)

Element 2: โครงสร้าง บทบาทหน้าที่และความรับผิดช

ผู้ปฏิบัติงานทุกคน ทุกระดับในบริษัทได้รับทราบ และมีการปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบของตน ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้อย่างชัดเจน

Element 3: การบริหารผลการปฏิบัติงาน และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

เพื่อให้ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีการนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม มีการกำหนดแผนการดำเนินงาน กิจกรรมที่ต้องดำเนินการ การกำกับดูแล การกำหนดเป้าหมายเชิงรุก เชิงรับ รวมถึงกระจายตัวชี้วัดนั้นให้สอดคล้องไปยังระดับบุคคล /หน่วยงาน (KPI Deployment) เพื่อให้สามารถใช้วัดผลการดำเนินงาน การติดตามและใช้เป็นตัวประเมิน performance ในระดับบุคคล / หน่วยงาน (PMS) และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

Element 4: ความรู้ความสามารถ จิตสำนึก และการฝึกอบรม

เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาความรู้ความสามารถให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย ตามความเสี่ยงและส่งเสริมจิตสำนึกด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยด้วยการดำเนินการ ดังต่อไปนี้

หลักสูตรอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับพนักงาน คู่ธุรกิจและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ

* = อ้างอิงตามความเสี่ยงของงานในแต่ละตำแหน่ง

Element 5: การตรวจประเมินระบบ

เพื่อประเมินความสอดคล้อง และสมรรถนะการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย พร้อมนำผลที่ได้มาแก้ไขป้องกัน เพื่อปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง ทุกบริษัทต้องดำเนินการตรวจประเมินภายใน ที่ครอบคลุมข้อกำหนด SCG Safety Frameworkและรายงานผลการประเมินตนเองผ่าน SPAP self-declaration อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และตรวจประเมินจากบุคลากรภายนอกบริษัท ในหัวข้อการประเมินความสอดคล้องตามกฎหมาย (Compliance Audit) อย่างน้อยทุกๆ 2 ปี

Element 6: การสอบสวนและการวิเคราะห์อุบัติการณ์

เพื่อให้มีการดำเนินการแก้ไขและการป้องกันอุบัติการณ์ที่ส่งผลให้เกิด การบาดเจ็บทั้งจากการทำงาน นอกงาน (Off The Job) การเจ็บป่วยและโรคจากการทำงาน รวมถึงภาวะฉุกเฉินต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิผล โดยให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเก็บ รวบรวม และรายงาน ข้อมูลอุบัติการณ์ด้าน อาชีวอนามัย ความปลอดภัย (Safety Incident Information and Reporting Standard) และ มาตรฐานการสอบสวนและวิเคราะห์อุบัติการณ์ (Incident Investigation & Analysis) 

Element 7: การบริหารความเสี่ยง

เพื่อชี้บ่ง ประเมินระดับความเสี่ยง นำไปสู่การกำจัด ลด และควบคุมอันตราย หรือความเสี่ยงเหล่านั้นให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ในทุกกิจกรรม กระบวนการ ทุกพื้นที่ และผลิตภัณฑ์ของบริษัท โดยนำผลที่ได้จากการประเมินความเสี่ยงมาวิเคราะห์ ทั้งในด้านการพัฒนาระบบ (System improvement) และในด้านการบริหารความเสี่ยง (Risk management) เช่น วิเคราะห์จำนวนความเสี่ยงในแต่ละระดับ การวิเคราะห์ประเภทหรือลักษณะปัจจัยอันตรายที่ได้จากการประเมิน หรือ วิเคราะห์ผลการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมความเสี่ยงตามที่ได้ระบุ ในระดับของบริษัท เป็นต้น เพื่อนำมากำหนดเป้าหมาย แผนงานในการปรับปรุงต่อไป         

Element 8: การจัดการการเปลี่ยนแปลง

เพื่อให้มีการพิจารณาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับโครงการใหม่ และเพื่อให้มีการวิเคราะห์ผลกระทบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงสิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึงมีการทบทวนความปลอดภัยก่อนเริ่มดำเนินการ โดยให้สอดคล้องกับมาตรฐานการจัดการการเปลี่ยนแปลง (Management of Change Standard)

Element 9: การเตรียมพร้อมและการตอบสนองภาวะฉุกเฉิน

เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทมีความพร้อมของทรัพยากร และวิธีการในการบริหารทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการตอบโต้และบริหารภาวะฉุกเฉินที่สอดคล้องกับความเสี่ยงของบริษัท เช่น อัคคีภัย ระเบิด สารเคมีรั่วไหล และครอบคลุมถึงเหตุแผ่นดินไหว น้ำท่วม สึนามิ เป็นต้น แต่ละบริษัทต้องจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานและแผนปฏิบัติการด้านภาวะฉุกเฉิน จัดให้มีการอบรมให้กับผู้ปฏิบัติงานและฝึกซ้อมการปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉิน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเตรียมพร้อมและการตอบสนองภาวะฉุกเฉิน (Emergency Planning and Response Standard)

Element 10: ความมั่นคงของกลไกการทำงาน

เพื่อให้มั่นใจถึงประสิทธิภาพที่เชื่อถือได้ของเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการปฎิบัติงาน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายในระดับที่มีความรุนแรงสูงต่อชีวิต ทรัพย์สิน รวมถึงกระบวนการผลิตที่ต้องหยุดชะงักตลอดสายการผลิตในแผนกนั้นๆ หรือมีผลกระทบต่อการผลิตที่ต้องหยุดชะงักในแผนกอื่นๆ ด้วย โดยให้สอดคล้องกับมาตรฐานความมั่นคงของกลไกการทำงาน (Mechanical integrity standard)

Element 11: อาชีวอนามัย

ระบบบริหารจัดการสุขภาพที่บูรณาการด้านอาชีวอนามัยและสุขศาสตร์อุตสาหกรรม มีการประเมินความเสี่ยงสุขภาพเพื่อนำมากำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยง แผนประเมินการสัมผัสด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม โปรแกรมการเฝ้าระวังสุขภาพที่สอดคล้องกับปัจจัยเสี่ยงที่สัมผัส และนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ร่วมกับแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ เพื่อพิจารณาแนวโน้มความผิดปกติซึ่งเป็นสาเหตุของความเจ็บป่วยและโรคจากการทำงาน รวมถึงใช้พิจารณาความพร้อมของสุขภาพก่อนมอบหมายงานที่เหมาะสม และกำหนดโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ปฏิบัติงาน โดยให้สอดคล้องกับมาตรฐานการประเมินความเสี่ยงสุขภาพและการจัดการความเสี่ยง (Health Risk Assessment and Risk Management Standard) มาตรฐานการเฝ้าระวังสุขภาพ (Health Surveillance Standard) และมาตรฐานการตรวจวัดทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรม (Industrial Hygiene Monitoring Standard)

Element 12: การบริหารความปลอดภัยคู่ธุรกิจ

การบริหารความปลอดภัยคู่ธุรกิจ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

คู่ธุรกิจมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจให้เกิดความยั่งยืน จึงเน้นการอบรมและสื่อสารเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตสำนึกด้านความปลอดภัย และลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของคู่ธุรกิจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปราศจากการบาดเจ็บและเจ็บป่วยจากการทำงาน (Injury & Illness Free) อย่างแท้จริง โดยให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบริหารจัดการความปลอดภัยคู่ธุรกิจ (Contractor Safety Management Standard) และมาตรฐานการบริหารความปลอดภัยคู่ธุรกิจสำหรับงาน Service Solutions (Contractor Safety Management for Service Solutions Standard)

เป้าหมายและผลการดำเนินงานการบริหารความปลอดภัยคู่ธุรกิจ

เป้าหมายผลการดำเนินงาน 2565 
100% คู่ธุรกิจในกระบวนการผลิตผ่านการรับรองความปลอดภัย90%
100% คู่ธุรกิจขนส่งประจำผ่านการรับรอง100%
100% คู่ธุรกิจที่มีมูลค่าการจัดหามากกว่า 1 ล้านบาทผ่านการประเมินด้านความยั่งยืน (ESG Risk)100%
95% คู่ธุรกิจตามมูลค่าการจัดหาแสดงความมุ่งมั่นปฏิบัติตามจรรยาบรรณคู่ธุรกิจของเอสซีจี94%

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2566 การสร้างความยั่งยืนสู่คู่ธุรกิจ

Element 13: การปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย

เพื่อสนับสนุนการนำระบบบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management) ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ไปสู่การปฏิบัติ ควบคุมและลดโอกาสในความเสี่ยง ปัจจุบัน เอสซีจีจัดทำมาตรฐานที่แต่ละบริษัทต้องนำไปปรับใช้เป็นขั้นต่ำ เช่น

  • การทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าอย่างปลอดภัย (Electrical Safety)
  • ระบบควบคุมการตัดแยกพลังงาน (Energy Isolation and Lockout Tagout System)
  • ระบบการอนุญาติปฏิบัติงาน (Work Permit System)
  • การทำงานยกเคลื่อนย้ายวัสดุอย่างปลอดภัย (Lifting Safety)
  • การทำงานในที่อับอากาศอย่างปลอดภัย (Occupational Safety in Confined Space)
  • การทำงานบนที่สูง (Work at High Elevation)
  • การป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร (Machinery Safeguarding)
  • การจัดการสารเคมี (Chemical Management) เป็นต้น

การตรวจประเมินประสิทธิผลด้านความปลอดภัย (SPAP)

เป้าหมาย: ให้ทุกบริษัทในเอสซีจีผ่านการตรวจประเมินประสิทธิผลด้านความปลอดภัย (SPAP) ตั้งแต่ระดับ Standard ขึ้นไป

ผลการประเมิน SPAP 2565

ในปี 2565, 100% ของโรงงาน/ บริษัทย่อยทั้งในและต่างประเทศผ่านการตรวจประเมินประสิทธิผลด้านความปลอดภัย  (SPAP) โดยผลตรวจประเมินภายในผ่านการประเมินตนเอง (SPAP Self-declaration) และการรับรองโดยผู้ตรวจประเมินระหว่างกลุ่มธุรกิจ สำหรับบริษัทในประเทศไทยมีผลการประเมินในระดับ Excellence เป็น 6.4% ระดับ Advance เป็น 12.8% ระดับ Standard เป็น 66.7% และระดับ Awareness เป็น 14.1% สำหรับบริษัทในต่างประเทศมีผลการประเมินในระดับ Standard เป็น 54.1% และระดับ Awareness เป็น 45.8% ตามลำดับ 

นอกจากนี้ 91% ของบริษัทย่อยของเอสซีจี ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจากภายนอกตามมาตรฐานสากล อาทิ OHSAS/ TIS 18001/ ISO 45001- Occupational Health and Safety Management System   

มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับงาน Service Solutions 

จากธุรกิจ Service Solutionsที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ทำให้มีคู่ธุรกิจสำหรับงานลักษณะนี้เพิ่มสูงขึ้นและมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ ในปี 2565 เอสซีจีได้ประกาศใช้มาตรฐานการบริหารความปลอดภัยสำหรับงาน Service Solutions (Safety Management for Service Solutions Standard) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่พัฒนาร่วมกันจากทุกกลุ่มธุรกิจ โดยแบ่งการบริหารจัดการออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) การจัดซื้อ จัดจ้าง (Qualification) 2) การกำกับดูแล (Operation) และ 3) การประเมิน (Quality Assessment) อันประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้ 

 

9 กฎพิทักษ์ชีวิต

จากการตรวจสอบ ควบคุม ที่เข้มงวด การสื่อสารและพัฒนาวิธีการทำงานที่ปลอดภัยอย่างต่อเนื่องเพื่อการควบคุมพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย และป้องกันการละเมิดกฎพิทักษ์ชีวิต ในปี 2565 มีการละเมิดโดยรวมลดลงคิดเป็น 15.22% จากปี 2564 โดยเรื่องที่มีการละเมิดเป็นส่วนใหญ่ มีดังนี้ 

  • 45.05% ของการละเมิดทั้งหมดมาจากข้อ 6 ต้องไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือเสพสารเสพติด รวมทั้งยา หรือสารอื่นใดซึ่งเข้าข่ายออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท เมื่อต้องทำงาน ขับขี่รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ 
  • 23.08% ของการละเมิดทั้งหมดมาจากข้อ 7 ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง  
  • 10.26% ของการละเมิดทั้งหมดมาจากข้อ 1 ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันการตกเมื่อทำงานที่สูง 

ความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง 

การเกิดอุบัติเหตุจากการเดินทางและการขนส่งยังคงเป็นความเสี่ยงที่เอสซีจีตั้งเป้าหมายให้การบาดเจ็บและการเสียชีวิตต้องเป็น “ศูนย์” ภายในปี 2566 ทั้งอุบัติเหตุในเวลาปฏิบัติงาน ซึ่งสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมเสี่ยงรวมทั้งการขาดวินัยในการปฏิบัติงาน และอุบัติเหตุนอกเวลาปฏิบัติงาน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการขับขี่รถจักรยานยนต์  

เอสซีจีจึงบังคับใช้มาตรฐานรวมทั้งระบบการรายงานและการสอบสวนสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ มาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยในกิจกรรมขนส่งสินค้าภายในพื้นที่บริษัทลูกค้า เช่น การขึ้น-ลงของ การยกเคลื่อนย้าย ฯลฯ มาตรการควบคุมและลดจำนวนใบสั่งด้วยประกาศและบทลงโทษ มาตรการลดการแจ้งเตือนจาก LCC โดยการตรวจสอบและควบคุมพฤติกรรมพนักงานขับรถ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงสุดจึงพัฒนาและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น Logistics Command Center (LCC) ศูนย์ควบคุมพฤติกรรมพนักงานขับรถบรรทุกด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อช่วยลดปัจจัยความเสี่ยงรวมทั้งการช่วยบริหารรอบรถและการเดินทางให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด ระบบ Advanced Driving Assistance System (ADAS)และ Driver Monitoring System (DMS) สำหรับใช้ตรวจสอบพฤติกรรมพนักงานขับรถ โดยมีการติดตั้งกล้องสองทาง GPS ในรถขนส่ง ระบบ Truck Driver Fatigue Management สำหรับควบคุมชั่วโมงการทำงาน ชั่วโมงการพักและลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุจากความเหนื่อยล้าของพนักงานขับรถ

ความปลอดภัยของสินค้าและบริการ 

เอสซีจีผนวกนโยบายความปลอดภัยของสินค้าและบริการเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการคุณภาพ (Quality Management System) ให้สอดคล้องกับความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย (Product Liability) โดยควบคุมและติดตามประสิทธิผลของการดำเนินการผ่านคณะกรรมการทบทวนระบบการจัดการคุณภาพของแต่ละบริษัท  

เอสซีจีพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงานผ่าน Product Stewardship Training Program เพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมการดูแลสินค้าให้มีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยประเมินและตรวจสอบอันตรายของสินค้าตลอด Life cycle ตั้งแต่การผลิตสินค้า การขนส่ง การจัดเก็บ การใช้งาน และการจัดการเมื่อสิ้นสุดการใช้งาน เพื่อวางแผนป้องกันตั้งแต่การออกแบบ การผลิต และการจัดทำฉลากคำเตือนตามมาตรฐานสากล มีการกำหนดมาตรการตอบสนองและสอบสวนข้อร้องเรียน รวมถึงซักซ้อมความพร้อมในการจัดการหากเกิดข้อร้องเรียน หรือเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น ทำให้ไม่พบข้อร้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญจากการละเมิดข้อกำหนดเรื่องสุขภาพและความปลอดภัย โดยประสิทธิผลของการดำเนินงานผ่านการตรวจประเมินจากการตรวจติดตามทั้งภายในและภายนอกของระบบ ISO 9001 อย่างต่อเนื่อง ในปี 2565 100% ของบริษัทย่อยของ เอสซีจี ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ 

นอกจากนี้ เอสซีจีมุ่งพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความปลอดภัย และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สนใจเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น ส่งเสริมการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้ได้รับฉลาก SCG Green Choice เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจ 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2566 สินค้าและบริการที่ยั่งยืน
 

กระบวนการ

เป้าหมายผลการดำเนินงาน 2565
ไม่มีข้อร้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญจากการละเมิดข้อกำหนดเรื่องสุขภาพและความปลอดภัย ทั้งจากการใช้สินค้า การให้ข้อมูลสินค้าและบริการ ข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์ หรือสื่อโฆษณาจากลูกค้า หรือผู้บริโภค0
ไม่มีค่าปรับเกิดขึ้นจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานสินค้าและบริการ0

ตัวอย่างการประเมินอันตรายของสินค้าและการจัดทำฉลากคำเตือน

เอกสารดาว์นโหลด

นโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เอสซีจี
การจัดการความเสี่ยงในสถานที่ปฏิบัติงาน และจากการเดินทางและขนส่ง
การจัดการความปลอดภัยในกระบวนการผลิต
การบริหารจัดการด้านสุขภาพ
หลักสูตรอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
การรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจากภายนอกตามมาตรฐานสากล(ISO45001)
ผลการดำเนินงานด้านสุขภาพและความปลอดภัย
มาตรฐานความปลอดภัย การขนส่งผลิตภัณฑ์
มาตรฐานการสอบสวนและวิเคราะห์อุบัติการณ์
มาตรฐานการเตรียมพร้อมและการตอบสนองภาวะฉุกเฉิน
มาตรฐานการประเมินความเสี่ยงสุขภาพและการจัดการความเสี่ยง