“ปลูก ลด ร้อน” เชื่อมโยงชุมชน ขยายพื้นที่ธรรมชาติ

หากย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีก่อนพื้นที่ป่าบนเขายายดาจังหวัดระยอง ยังมีแต่ความแห้งแล้งกับพื้นที่สวนยางที่เป็นสัมปทานของเอกชน ชุมชนบ้านมาบจันทร์ซึ่งอาศัยบริเวณด้านล่างเขาได้รับผลกระทบจากภัยแล้งแทบทุกปี จนวันที่สัมปทานสวนยางของเอกชนสิ้นสุดลงชาวบ้านจึงขอคืนพื้นที่แห่งนี้จากกรมป่าไม้เพื่อสร้างเป็นป่าชุมชนมาถึงวันนี้บนเขายายดามองไปทางไหนก็มีแต่ต้นไม้เขียวชอุ่มพื้นที่กว่า 700 ไร่แน่นขนัดด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ประดู่ ตะเคียน ซ้อ ยางนา พยุง กระบก และพืชสวนอื่นๆ“ปลูก ลด ร้อนเชื่อมโยงชุมชน ขยายพื้นที่ธรรมชาติรวมถึงเหล่าสัตว์ป่า หมีควาย ลิง กระรอกแดงนกนานาชนิด ฯลฯ ก็หวนคืนกลับสู่เขายายดา

แต่กว่าจะมีวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย วันดี อินทร์พรม ผู้ใหญ่บ้านมาบจันทร์ เล่าว่าสมัยก่อนพื้นที่นี้ขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็นโดยเฉพาะ “น้ำ” สาเหตุจากการไม่มีป่าต้นน้ำและไม่มีองค์ความรู้การบริหารจัดการน้ำเพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี ทุกปีชาวบ้านต้องขอซื้อน้ำจากรถน้ำของเทศบาลมาแก้ปัญหาความขาดแคลน

“แต่ก่อนข้างบนแล้งมาก เขาหัวโล้นไม่มีต้นไม้ใหญ่ไม่มีน้ำเพียงพอต่อการดำรงชีวิต ทุกปีเราเจอกับปัญหาภัยแล้ง เดือนเมษายน-พฤษภาคมของทุกปี เราต้องวิ่งขึ้นไปช่วยกันดับไฟป่าตลอด เรียกว่าเป็นวาระประจำปี”

ด้วยสภาพพื้นที่และระยะทางที่ห่างไกลจากความเจริญนับสิบปีไม่เคยมีน้ำประปาจากหน่วยงานรัฐเข้าถึง จนเมื่อชุมชนบ้านมาบจันทร์ได้รู้จักกับเอสซีจีผ่านความช่วยเหลือของหน่วยงานรัฐ จึงได้ร่วมมือกันสร้างฝายชะลอน้ำ ปลูกต้นไม้ และได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้ต่างๆ ในการบริหารจัดการน้ำอย่างรอบด้าน เพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น ผู้ใหญ่วันดี ผู้นำของชุมชนสะท้อนภาพการทำงานร่วมกับเอสจีซีว่า

“เอสซีจีอยู่กับเราเหมือนเป็นพี่เป็นน้อง เขาไม่เคยทิ้งเราตั้งแต่เริ่มต้นทำฝายมาด้วยกันตั้งแต่ปี 2550 ช่วยเราคิดบางอย่างเอสซีจีไม่รู้ เขาก็ไปหาผู้รู้มาช่วยสอน เอสซีจีสอนให้ชุมชนแข็งแรง ให้องค์ความรู้ จนทำเป็นและชุมชนเราอยู่ได้”

พื้นที่บนเขายายดาเต็มไปด้วยต้นไม้ที่คนในชุมชนและเอสซีจีช่วยกันนำ ต้นกล้าขึ้นไปปลูก เฉพาะปี 2564 มีการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นกว่า 50 ไร่ จำนวน 3,000 ต้น

ไม่ใช่แค่การปลูก แต่ยังเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไม้หายากในป่าไว้ที่ “ธนาคารต้นไม้ชุมชน” เพื่ออนุรักษ์พันธุ์ไม้ป่ารวมทั้งจัดกิจกรรมสร้างสำนึกรักษ์ธรรมชาติให้แก่พนักงานเอสซีจี โดยเยาวชนโรงเรียนบ้านเขายายชุมได้เก็บเมล็ดพันธุ์ไม้ป่าส่งมอบให้พนักงานมาเพาะเลี้ยงเป็นต้นกล้าที่บ้าน คอยดูแลให้เติบโตเป็นเวลา 3 เดือนครบกำหนดแล้วส่งต้นกล้ากลับมายังธนาคารต้นไม้ให้ชุมชนดูแลต่อ

ถึงเวลาต้นกล้าโตเต็มที่ พนักงานเอสซีจีก็ร่วมกับชุมชนช่วยกันนำกล้าไม้ขึ้นไปปลูกบนเขายายดา ขยายพื้นที่ป่าให้เพิ่มมากขึ้น

เป็นหนึ่งในโครงการ “รักษ์น้ำ จากภูผาสู่มหานที”ที่เอสซีจีดำเนินการมานับสิบปีในพื้นที่หลายแห่งทั่วประเทศไทย

“การปลูกต้นไม้คือการที่เราได้ช่วยกันดูแลรักษ์โลกใบนี้อีกทางหนึ่งด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพิ่มแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศ ช่วยให้อุณหภูมิโลกปกติขอขอบคุณกิจกรรมดี ๆ โครงการ ‘ปลูก ลด ร้อน’ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2564 ของเอสซีจีที่ให้โอกาสเราได้ช่วยโลกของเรา”

ขวัญฤทัย ยึดมั่น

ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนดีเด่นจังหวัดนครศรีธรรมราช 2560, คณะกรรมการป่าชุมชนบ้านวังไทร,คณะกรรมการกลุ่มบริหารจัดการน้ำชุมชนทุ่งสง

กรกฎาคม 2564

จาก “รักษ์น้ำ” สู่ “รักษ์ป่า”จากการแก้ปัญหาภัยแล้ง

สู่การแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน

โครงการ “รักษ์น้ำ จากภูผาสู่มหานที” ดำเนินงานแก้ไขปัญหาภัยแล้งและภาวะขาดแคลนน้ำร่วมกับชุมชนในจังหวัดต่างๆ ได้แก่ สระบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี ปราจีนบุรี ระยอง ลำปาง นครศรีธรรมราช และตรัง มาอย่างต่อเนื่อง จนเมื่อระยะหลังสถานการณ์วิกฤตสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่ทั่วโลก ให้ความสำคัญอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะปัญหาภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ยกระดับความรุนแรงเป็นภาวะฉุกเฉินด้านภูมิอากาศ (Climate Emergency) ของมนุษยชาติ เอสซีจีจึงตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อเดินหน้าสู่องค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 และใช้แนวคิด Natural Climate Solution ฟื้นฟูป่าเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจก ต่อยอดจากความมุ่งมั่นที่ทั้งสามกลุ่มธุรกิจของเอสซีจีดำเนินงานมาอย่างเป็นรูปธรรมหลายปี

ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ฟื้นฟูสภาพพื้นที่เหมืองหินปูนมาอย่างต่อเนื่องด้วยการปรับสภาพพื้นที่การปลูกพันธุ์ไม้พื้นถิ่น เพื่อให้ระบบนิเวศในพื้นที่ฟื้นฟูคล้ายคลึงกับพื้นที่บริเวณป่ากันชน และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งการปลูกต้นไม้ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติในจังหวัดลำปาง การสร้างบ้านปลา ปลูกป่าโกงกางและหญ้าทะเลในจังหวัดทางภาคใต้

ธุรกิจเคมิคอลส์ สนับสนุนการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในทะเล ผ่านกิจกรรมสร้างบ้านปลาและปลูกต้นไม้ร่วมกับชุมชนในท้องถิ่นจังหวัดระยอง

SCGP (ธุรกิจแพคเกจจิ้ง) จัดทำพื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพตามมาตรฐานการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนของ FSC รวมทั้งฟื้นฟูป่าทั้งในพื้นที่โรงงาน พื้นที่อุทยานแห่งชาติ และพื้นที่ป่าชุมชนในปี 2564 เอสซีจีมุ่งมั่นขยายผลองค์ความรู้การปลูกต้นไม้อย่างยั่งยืน เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้เป็นแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจก และฟื้นฟูความสมดุลของระบบนิเวศ จัดทำ โครงการ “ปลูก ลด ร้อน” เน้นการปลูกต้นไม้อย่างมีองค์ความรู้ที่ถูกต้อง เพื่อให้กล้าไม้ต้นเล็กๆ อยู่รอด และเจริญเติบโตแข็งแรงเป็นต้นไม้ใหญ่ได้อย่างยั่งยืน ในปี 2564 ปลูกต้นไม้ทั้งหมดจำนวน 150,000 ต้นแบ่งเป็นป่าสามประเภท ได้แก่ ป่าบก 81,992 ต้น ป่าโกงกาง 44,000 ต้น และหญ้าทะเล 30,000 ต้นคาดว่าจะช่วยการดูดซับก๊าซเรือนกระจก 14,500 ตันคาร์บอนไดออกไซด์

ทั้งนี้ตามแผนการปลูกต้นไม้เพื่อบรรลุ Net Zero ในปี 2593 มีเป้าหมายการปลูกต้นไม้จำนวนทั้งหมด 3 ล้านไร่และป่าโกงกาง 30,000 ไร่

นอกจากชุมชนบ้านมาบจันทร์และเขายายดาที่ประสบความสำเร็จแล้ว ยังมีอีกหลายชุมชนที่เอสซีจีลงพื้นที่เพื่อ

สร้างความร่วมมือและแรงบันดาลใจ นำองค์ความรู้จากชุมชนต้นแบบส่งต่อให้แก่ชุมชนอื่นๆ ผ่านการชวนคิด ชวนทำ และชวนแก้ปัญหา เพื่อให้ทุกภาคส่วนร่วมกันปลูกต้นไม้อย่างยั่งยืน

จากป่าโกงกางถึงหญ้าทะเล

จากบ้านของสัตว์ทะเลสู่ความเข้มแข็งของชุมชน

พื้นทะเลบริเวณชายหาดชุมชนบ้านมดตะนอย อำเภอกันตรัง จังหวัดตรัง จะมองเห็นหญ้าทะเล พืชคล้ายใบไม้จำนวนมากพลิ้วไหวอยู่ใต้น้ำ ที่นี่คือแหล่งอนุบาลตัวอ่อนแหล่งหลบซ่อนศัตรูของปลา กุ้ง ปู หอย และแหล่งหากินของสัตว์ขนาดใหญ่ เช่น เต่าทะเลและพะยูน บริเวณชายฝั่งโดยรอบยังมีป่าโกงกางขนาดใหญ่ทำหน้าที่เป็นร่มเงากำบังแดดและกำแพงกันคลื่นทะเลชั้นดีป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง

หากย้อนไปเมื่อหลายสิบปีก่อน ที่นี่มีสัมปทานตัดต้นโกงกางเพื่อเผาถ่านส่งขายต่างประเทศ จนป่าโกงกางถูกตัดหายไปกว่า 70% หลังเลิกสัมปทาน ชุมชนเห็นความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศที่เสื่อมโทรม กุ้ง หอย ปู ปลาหายไปจากทะเล จึงหันมาช่วยกันปลูกต้นโกงกาง แต่ไม่นานก็เกิดเหตุการณ์สึนามิทำลายระบบนิเวศชายฝั่งทั้งภูมิอากาศที่แปรปรวน สัตว์ทะเลเริ่มหายาก ด้วยความไม่สมบูรณ์ของระบบนิเวศของป่าชายเลนและหญ้าทะเล ทำให้สัตว์ทะเลขาดแหล่งหากิน ที่วางไข่ และแหล่งหลบซ่อนศัตรู ส่งผลเป็นลูกโซ่ถึงการประกอบอาชีพของชาวประมง

เอสซีจีและชุมชนบ้านมดตะนอยมาเริ่มรู้จักกันตั้งแต่ปี 2559 ผ่านโครงการ “รักษ์น้ำ จากภูผาสู่มหานที” โดยเอสซีจีเข้ามาสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพการประมงพื้นบ้านและระบบนิเวศวิทยาทางทะเล “สร้างบ้านให้ปลาปลูกหญ้าให้พะยูน” ดำเนินการร่วมกันต่อเนื่องเรื่อยมากว่า 5 ปี ขยายพื้นที่การปลูกต้นไม้ ทั้งต้นโกงกางและหญ้าทะเลฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งและความหลากหลายทางชีวภาพจนมาถึงโครงการ “ปลูก ลด ร้อน” ในปี 2564 ก็ได้ปลูกหญ้าทะเลไปแล้วทั้งสิ้น 31,000 ต้น

ชุมชนบ้านมดตะนอยและเอสซีจีได้ร่วมกันไปศึกษาดูงานแหล่งเพาะพันธุ์หญ้าทะเลที่มูลนิธิอันดามัน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงปลากระชังบ้านพรุจูด อำเภอสิเกาจังหวัดตรัง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยวิทยาเขตตรัง นำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้กับความรู้เดิมของชุมชน ตั้งแต่การเก็บพันธุ์หญ้าทะเล และการทดลองปลูกในศูนย์เพาะพันธุ์ สามารถเพิ่มอัตราการรอดตายระหว่างเพาะพันธุ์สูงถึง 80% ลดความเสียหายจากวิธีการแยกกอย้ายปลูก จนสามารถพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้เพาะพันธุ์หญ้าทะเลให้ชุมชนอื่นๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงทั้งป่าโกงกางและหญ้าทะเลถือเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ โดยเฉพาะหญ้าทะเลมีประสิทธิภาพในการกักเก็บที่สูงมากเมื่อเทียบกับไม้ยืนต้น มีค่าการกักเก็บใต้ดินเฉลี่ย 133 กรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อตารางเมตรต่อปีสูงกว่าระบบนิเวศป่าบกเขตร้อนถึง 50 เท่า

จากบ้านมดตะนอยสู่บ้านหน้าทับ จากทะเลอันดามันถึงทะเลอ่าวไทย

ธันวาคมปี 2563 เอสซีจีเป็นสื่อกลางเชื่อมต่อระหว่างสองชุมชน สองจังหวัด สองฝั่งทะเล คือชุมชนบ้านหน้าทับจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่ติดทะเลอ่าวไทย กับชุมชนบ้านมดตะนอย จังหวัดตรัง ซึ่งอยู่ติดทะเลอันดามัน โดยพาชุมชนบ้านหน้าทับมาศึกษาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เรื่องการปลูกต้นโกงกางและหญ้าทะเลจากบ้านมดตะนอยซึ่งอยู่ห่างกันกว่า 100 กิโลเมตร เพื่อนำองค์ความรู้กลับไปฟื้นฟูป่าโกงกางของบ้านหน้าทับให้เกิดความยั่งยืน

          หลายปีก่อนพื้นที่ชายฝั่งบ้านหน้าทับซึ่งเคยเป็นป่าโกงกางแน่นขนัด เหลือเพียงแนวต้นไม้เรียงหน้ากระดานเป็นรั้วกันพื้นที่ภายในซึ่งว่างเปล่า เหตุเพราะการบุกรุกพื้นที่ทำนากุ้งและการตัดไม้โกงกางมาทำบ้านหรือเผาถ่านโดยไม่มีการปลูกทดแทน จนเมื่อเกิดการทวงคืนพื้นที่โดยภาครัฐ ชุมชนจึงจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลน ช่วยกันปลูกซ่อมแซม พยายามฟื้นฟูระบบนิเวศ แต่ต้นโกงกางเติบโตยาก ปลูกครั้งหนึ่งอาจรอดแค่ 30% ด้วยกระแสลมแรงและน้ำที่กัดเซาะ ต้องใช้เวลาปลูกทดแทน ซ่อมส่วนเสียหายจากลมมรสุมอยู่บ่อยๆ กว่ารากโกงกางจะแข็งแรง

องค์ความรู้จากบ้านมดตะนอยจึงมาช่วยเสริมการปลูกต้นโกงกางให้ยั่งยืน ซึ่งมีการปลูกสองแบบ คือปลูกแบบใช้ฝักในช่วงฤดูขยายพันธุ์เลียนแบบวิถีธรรมชาติ และแบบเพาะฝักเป็นต้นก่อนเพื่อนำ ไปปลูกซ่อมแซม รวมทั้งการดูความพร้อมของพื้นที่จากต้นแสมเล็กๆ ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติในพื้นที่ดินเลนงอกใหม่ เป็นสัญญาณว่าสามารถปลูกต้นโกงกางได้แล้ว และการเลือกช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสมคือช่วงปลอดลมมรสุมทางฝั่งอ่าวไทยระหว่างเดือนเมษายนถึงสิงหาคม ทำให้รากโกงกางแข็งแรง มีโอกาสรอดและเติบโตเป็นป่าชายเลนสูงขึ้น

“บางครั้งเราต้องการปลูกต้นไม้ แต่เป็นช่วงมรสุมเอสซีจีก็จะแนะนำ ว่า ลมมรสุมจะพัดต้นไม้พัง มันก็ตายสิ่งที่ทำ ก็จะสูญเปล่า เอสซีจีเสนอให้ทำกิจกรรมอื่นแทนในช่วงเวลานั้น เช่นการจัดการขยะ และเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมค่อยมาร่วมกันวางแผนปลูกต่อ พอได้รู้จักกับเอสซีจี ทำให้เรามีความหวังและอยากทำงานกับเอสซีจีตลอดไป” ทักษิณ หมินหมัน ประธานกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านแหลมโฮมสเตย์ (บ้านหน้าทับ) จังหวัดนครศรีธรรมราช เล่าถึงความเปลี่ยนแปลง

ปี 2564 ชุมชนบ้านหน้าทับปลูกต้นโกงกางไปแล้ว 14,000 ต้น และตลอด 2 ปีที่ผ่านมาได้ร่วมปลูกกับเอสซีจีแล้วทั้งสิ้น 28,000 ต้น

“ปลูก ลด ร้อน” ยังคงเดินหน้าทำงานร่วมกับชุมชนขยายวงกว้างยิ่งขึ้น ทั้งการส่งต่อองค์ความรู้ในการปลูกและการเชื่อมต่อชุมชนเครือข่ายต่างๆ ที่มีหัวใจอนุรักษ์ให้ร่วมปลูกต้นไม้ไปด้วยกัน

ปี 2564 เอสซีจีร่วมมือกับทุกภาคส่วนปลูกต้นไม้ไปแล้วกว่า 700 ไร่ 160,000 ต้น

จากก้าวหนึ่ง เพื่อก้าวต่อไป เพื่อพิทักษ์โลกของเรา