การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ส่งเสริมเทคโนโยลีเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เป้าหมาย
- ปี 2593 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
- ปี 2573 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20% เทียบกับปีฐาน 2563
- ปี 2568 ลดการใช้พลังงานลง 13% เทียบกับกรณีปกติ ณ ปีฐาน 2550
ผลงาน ปี 2565
- ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 12.05%
- ลดการใช้พลังงานลง 6.73%
กลยุทธ์
- เพิ่มสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลและแหล่งพลังงานสะอาด ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล
- ปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนกระบวนการและอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงขึ้น
- วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593
- พัฒนาสินค้า บริการ และโซลูชันที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่คุณค่า
- ประยุกต์ใช้เครื่องมือด้านเศรษฐศาสตร์เพื่อส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- ปลูกและฟื้นฟูพื้นที่ป่าบนบก ป่าชายฝั่ง และหญ้าทะเล ให้มีความหลากหลายทางชีวภาพและเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์
- จัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงานและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้แก่พนักงานและคู่ธุรกิจ
การบริหารจัดการ
- ตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อให้เป็นไปตามความตกลงปารีสและสอดคล้องกับการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 (Net Zero 2050)
- จัดทำมาตรการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่องในทุกหน่วยธุรกิจ
- จัดทำและเปิดเผยการจัดการประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามแนวทางสากล (TCFD, SBTi)
- กำกับและดูแลการดำเนินการในประเด็นการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูงซึ่งมีการประชุมทุกไตรมาส
- ผลักดันและดำเนินงานโดยคณะกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงานซึ่งมีการประชุมทุกไตรมาส
การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญสูงขึ้นอย่างมากในปีที่ผ่านมา ทำให้มีปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายและโอกาสของการมุ่งสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ เอสซีจีจึงตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 และตั้งเป้าหมายที่สอดคล้องกับ Science Based Target ซึ่งอยู่ระหว่างการทวนสอบโดยยังคงมุ่งมั่นดำเนินการตามกลยุทธ์และมาตรการต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานด้วยระบบอัตโนมัติ
ธุรกิจเคมิคอลส์ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลตรวจวัดและควบคุมค่าต่างๆ ในระบบแบบอัตโนมัติ ทำให้กระบวนการผลิตของโรงงานระยองโอเลฟินส์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
- Integrated Steam Optimization ปรับปรุงการตรวจวัดและตั้งค่าควบคุมระบบไอน้ำซึ่งมีความซับซ้อนสูง จากการใช้พนักงานมาเป็นระบบดิจิทัลที่ตรวจวัดวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Data Analytics และปรับค่าควบคุมระบบไอน้ำที่เหมาะสมแบบอัตโนมัติ
- Unlock Furnace Gap by Data Analytics ปรับปรุงการทำงานของเตาปฏิกิริยาความร้อน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานมากที่สุดในโรงงานด้วยการใช้ระบบดิจิทัลเก็บข้อมูลที่ครบถ้วนและวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Data Analytics จนนำมาสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพการฟื้นฟูสภาพเตา (Decoke) ด้วยระบบอัตโนมัติและการกระจายความร้อนในเตา (Heat Distribution) ด้วย Machine Learning เรียนรู้และทำนายพฤติกรรมของเตาอย่างแม่นยำทั้งสองโครงการช่วยลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 8,030 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี
ปี 2564 บริษัทระยองโอเลฟินส์ จำกัดได้รับรางวัลโรงงานอุตสาหกรรม 4.0 ประเภท Smart Energy ระบบการจัดการพลังงานอัจฉริยะ และโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) จากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
SCGP (ธุรกิจแพคเกจจิ้ง) ปรับปรุงกระบวนการผลิตกระดาษของโรงงานสยามคราฟต์อุตสาหกรรม ด้วยการใช้ระบบดิจิทัลออนไลน์ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ แบบอัตโนมัติ ทำให้ใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- Hood & Ventilation Balance Control System พัฒนาระบบวัดลมใน Dryer Part แบบออนไลน์ด้วยกระบวนการ Data Analytics แทนการตรวจวัดด้วยพนักงาน ซึ่งใช้เวลาถึง 4 ชั่วโมง ทำให้ควบคุมความสมดุลของระบบได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
- Pulper Consistency Control System ปรับปรุงประสิทธิภาพของการผลิตใน Pulper Section ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้พลังงานมากที่สุด โดยติดตั้งเรดาร์เซนเซอร์และโปรแกรมเพื่อควบคุมความเข้มข้นของน้ำเยื่อให้มีเสถียรภาพมากขึ้น ทำให้กำลังการผลิตสูงขึ้น และส่งผลให้การใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิตลดลง
- Aeration Optimization ควบคุมการเปิดปิดระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศด้วยระบบอัตโนมัติจากการตรวจวัดคุณภาพน้ำเสียแบบเรียลไทม์ทั้งสามโครงการช่วยลดการใช้พลังงานรวม 53,413 กิกะจูลต่อปี และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม 7,762 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี
ขยายการใช้พลังงานแสงอาทิตย์และเชื้อเพลิงชีวมวล
ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ขยายการติดตั้งระบบพลังงานเเสงอาทิตย์บนหลังคาทั้งภายในเเละภายนอกบริษัท รวมเป็น 18,923 เมกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 9,460 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี เพิ่มสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรผ่านโครงการ Energy Pellet เเละเชื้อเพลิงชีวมวลจากการเกษตรอื่นๆ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมลงได้ 3.25 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี
บริษัทอาร์ไอแอล 1996 จำกัด ในธุรกิจเคมิคอลส์ จัดทำโครงการขยายการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารสำนักงานและโรงงานของบริษัท 5 บริษัทที่ตั้งอยู่ใน นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ได้แก่ บริษัทไทยโพลิเอททิลีน จำกัด บริษัทมาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัด บริษัทแกรนด์สยาม คอมโพสิต จำกัด บริษัทไทย เอ็มเอฟซี จำกัดและบริษัทมาบตาพุด แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด รวมกำลังการผลิตสูงสุด 1.78 เมกะวัตต์เพื่อใช้เป็นพลังงานภายในอาคารแทนการใช้ไฟฟ้าจากภายนอก ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1,301 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี และสนับสนุนให้เกิดเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
SCGP (ธุรกิจแพคเกจจิ้ง) ขยายการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นรวมเป็น 11.78 เมกะวัตต์ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็น 8,757 ตัน คาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี และเพิ่มการใช้พลังงานชีวมวลโดยการรับซื้อใบอ้อยจากเกษตรกรมาเป็น
พลังงานทดแทนและปรับปรุงเครื่องจักรให้สามารถใช้เชื้อเพลิงชีวมวลได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เป็น 277,440 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี
ระบบบำบัดอากาศเสียสำหรับธุรกิจอาคาร
ใช้เทคโนโลยี AI เพิ่มประสิทธิภาพระบบปรับอากาศและระบายอากาศภายในอาคาร พร้อมลดมลพิษในอากาศ ด้วยนวัตกรรม HVAC Air Scrubber ดูดซับสารพิษได้มากกว่า 30 ชนิด ช่วยลดภาระการทำงานของเครื่องปรับอากาศ ทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น ลดการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกได้อย่างน้อย 8 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อตารางเมตรต่อปี และดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอาคารให้มีค่าไม่เกิน 750 ppmได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 นวัตกรรมโดดเด่นสาขา Smart Heat & Air จากองค์กร The Clean Fight 2020 นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา