จรรยาบรรณธุรกิจ
นับตั้งแต่องค์กรก่อตั้งในปี 2456 เอสซีจีได้ดำเนินธุรกิจและปลูกฝังให้พนักงานยึดมั่นในอุดมการณ์เอสซีจีซึ่งประกอบด้วย “ตั้งมั่นในความเป็นธรรม มุ่งมั่นใน ความเป็นเลิศ เชื่อมั่นในคุณค่าของคน และถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม” ซึ่งเป็นรากฐานของการดำเนินธุรกิจตามแนวทางพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้หลักบรรษัทภิบาลที่คำนึงถึงการสร้างคุณค่าร่วมกันในสังคม สร้างสรรค์สินค้าบริการและโซลูชัน ด้วยนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและพัฒนาเศรษฐกิจไปด้วยกันอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส
การขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้สภาวะการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ความผันผวนของสภาพเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมยุคใหม่ กลับยิ่งสร้างความมุ่งมั่นให้เอสซีจีดำเนินธุรกิจบนหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วย ESG 4 Plus คือ มุ่ง Net Zero – Go Green – Lean เหลื่อมล้ำ – ย้ำร่วมมือ ยึดหลัก ความไว้วางใจและโปร่งใส
โดยนำหลักการ GRC (Governance, Risk Management and Compliance) มาปฏิบัติใช้ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริษัทร่วมกับผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามแนวทาง ESG รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสตามมาตรฐานการรายงานข้อมูลด้าน ESG ในระดับสากล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้มีส่วนได้เสียต่อการดำเนินงานของเอสซีจี
ด้วยเหตุนี้ เอสซีจีจึงสนับสนุนให้พนักงานทุกระดับที่ปฏิบัติงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีความตระหนักรู้ในหลัก GRC เข้าใจเป้าหมายของงานที่รับผิดชอบสามารถประเมินและรู้เท่าทันความเสี่ยง และปฏิบัติงานให้สอดคล้องตามกฎเกณฑ์ได้อย่างถูกต้อง และนำมาปฏิบัติใช้ในการทำงานตลอดเวลา จนกลายเป็นพฤติกรรมที่พึงมีทั้งในการทำงานและชีวิตประจำวัน
เป้าหมาย
- พนักงานเรียนรู้และทดสอบ ด้านจริยธรรมผ่าน Ethics e-Testing 100%
- เป็นองค์กรต้นแบบด้านบรรษัทภิบาลที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
- ปฏิบัติอย่างถูกต้องตามกฎเกณฑ์ตลอดเวลา
- ไม่เกิดกรณีคอร์รัปชัน
- ส่งเสริมการแข่งขันทางการค้า
กลยุทธ์
- สร้างเสริมความรู้ความสามารถเรื่องการกํากับดูแลกิจการแก่คณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูงอย่างสม่ําเสมอ เพื่อให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่พนักงานเอสซีจี
- ปรับปรุงหลักบรรษัทภิบาลเอสซีจีและจรรยาบรรณเอสซีจีให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์มาตรฐานสากล ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย และเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
- ประเมินและตรวจสอบเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชัน โดยใช้ระบบเชิงป้องกันประกอบด้วยแบบทดสอบจริยธรรม การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของหน่วยงาน 3 ระดับ (หน่วยปฏิบัติงาน หน่วยงานสนับสนุนและกำกับการปฏิบัติงาน และสำนักงานตรวจสอบ) และระบบรับข้อร้องเรียนที่ผู้มีส่วนได้เสียเข้าถึงได้
- สื่อสารและจัดฝึกอบรมด้านจรรยาบรรณแก่หน่วยงานกํากับดูแล พนักงาน รวมถึงคู่ค้าและคู่ธุรกิจเป็นประจํา เพื่อสร้างวัฒนธรรมการทํางานที่โปร่งใส
การสื่อสารและอบรมด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณเอสซีจีและหลัก GRC (Governance, Risk and Compliance)
ผู้บริหารระดับสูงสื่อสารเพื่อเสริมสร้างให้พนักงานทุกคนสามารถนำจรรยาบรรณเอสซีจีไปใช้ทุกการตัดสินใจในการปฏิบัติงานด้วยการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ที่สามารถเข้าถึงพนักงานได้กว้างขวางมากขึ้น เพื่่อให้มั่นใจว่าการดำเนิินธุุรกิิจของเอสซีีจีีเป็นไปด้วยความ “เป็นธรรมและโปร่งใส” สอดคล้องกัับ แนวทาง ESG 4 Plus ผ่านการดำเนินงานต่าง ๆ ดังนี้
- จัดทำสื่อการเรียนรู้และประชาสัมพันธ์ GRC เช่น GRC Intranet SCG Code of Conduct Intranet เผยแพร่ GRC VOICE e-Newsletter คู่มือ SCG GRC e-Rulebook คู่มือ ESG Guideline on MD Guidebook
- สื่อสารจากผู้บริหารระดับสูงไปสู่พนักงาน (Tone at the Top) จัดทำหลักสูตร E-learning สื่อประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณเอสซีจี เพื่อผลักดันให้เกิดการปฏิบัติ ในรูปแบบภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาท้องถิ่น
- ประชาสัมพันธ์การใช้ระบบ GRC Helpline
การให้ความรู้และทดสอบจริยธรรมพนักงาน Ethics e-Testing
ปี 2566 เป็นปีที่ 9 ที่เอสซีจีจัดทําแบบทดสอบจริยธรรมของพนักงาน Ethics e-Testing มาอย่างต่อเนื่อง แบ่งเป็น 3 ระดับ สอดคล้องกับบทบาทหน้้าที่และความรับผิิดชอบของพนักงาน โดยทดสอบในเรื่่องคุุณธรรม อุุดมการณ์เอสซีจี จรรยาบรรณเอสซีจี และนโยบายต่่อต้าน คอร์รัปชัน เพื่อให้พนักงานทุกระดับเรียนรู้และเข้าใจการปฏิบัติตามนโยบาย โดยในปี 2566 เพิ่มการปรับสัดส่วนแบบทดสอบให้กลุ่มวิชาชีพที่มีความเสี่ยง เช่น งานจัดซื้อ รัฐกิจสัมพันธ์ การขายและการตลาด เป็นต้น
ปี 2566 พนักงานเอสซีจีทำแบบทดสอบจริยธรรมผ่านเกณฑ์ 100% และนอกจากนี้ยังได้ทำการวิเคราะห์การตอบแบบทดสอบของพนักงาน โดยนำข้อสอบที่่พนักงานตอบผิดบ่อยมาสื่อสารให้้พนักงานเกิิดความเข้าใจที่่ถููกต้้อง แบบทดสอบจะมีการทบทวนทุกปีเพื่อให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
….
นโยบายการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 กรรมการผู้จัดการใหญ่ได้ประกาศนโยบายการกำกับดูแลการปฏิบัติงานเป็นลายลักษณ์อักษรในสารจากกรรมการผู้จัดการใหญ่ที่สื่อสารถึงทุกคนในองค์กร เพื่อยกระดับการกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานเอสซีจีทุกคนต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย การทำธุรกรรมที่ผิดกฎหมายเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ โดยวางพื้นฐานให้ผู้ปฏิบัติงานในฐานะ First Line มีกระบวนการปฏิบัติงานที่มั่นใจได้ว่าจะป้องกันความเสี่ยงจากการไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และมีหน่วยงานกำกับดูแลการปฏิบัติงาน (Second Line) เป็นผู้สนับสนุนการนำระบบการบริหารงานดังกล่าวไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยสร้างความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักรู้ให้กับผู้ปฏิบัติงาน ให้คำปรึกษา กำหนดการควบคุม และร่วมสร้างจิตสำนึกในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์สืบทอดเป็นวัฒนธรรมของเอสซีจี เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับเอสซีจี กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานเอสซีจีทุกคน ซึ่งจะส่งเสริมให้เอสซีจีเติบโตอย่างมั่นคง สมดุลและยั่งยืน
นโยบายในทุกประเทศที่ดำเนินธุรกิจ
ตั้งแต่ปี 2560 เอสซีจีกำหนดนโยบาย และแนวปฏิบัติสำหรับการปฏิบัติตามกฎหมายสำคัญ 3 เรื่อง เพื่อให้ทุกคนตระหนักและเป็นแนวทางในการปฏิบัติตามกฎหมายในทุกประเทศที่เอสซีจีดำเนินธุรกิจเพื่อยกระดับการกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนี้
- นโยบายการแข่งขันทางการค้า (Anti-trust Policy)
- นโยบายการจัดการข้อมูลภายในที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ (Insider Trading Policy)
- นโยบายการเปิดเผยข้อมูล (Disclosure Policy)
การแข่งขันทางการค้า
นำระบบการบริหารงานด้านการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน (Compliance Management System-CMS) มาใช้ในการปฏิบัติตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้า เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าผู้บริหารและพนักงานมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้องครบถ้วน และมีระบบการติดตามที่มีประสิทธิภาพ
ที่ผ่านมาเอสซีจีและพนักงานเอสซีจีไม่มีคดีความหรือถูกร้องเรียนหรือถูกกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมละเมิดกฎหมายการแข่งขันทางการค้า รวมทั้งไม่เคยโดนลงโทษหรือต้องจ่ายค่าปรับอันเนื่องมาจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้า นอกจากนี้ยังไม่พบการร้องเรียนภายในใดว่าพนักงานกระทำการฝ่าฝืนนโยบายหรือแนวปฏิบัติการแข่งขันทางการค้า
สนับสนุนบทบาทผู้บริหาร
เอสซีจีให้ความสำคัญกับการสนับสนุนให้กรรมการบริษัททุกคนปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้บริหารและพนักงาน ตามแนวทางบรรษัทภิบาลและการยึดมั่นในจรรยาบรรณเอสซีจี การจัดกิจกรรมให้กรรมการบริษัทได้แสดงบทบาทและมีส่วนร่วม
แบบทดสอบจริยธรรม (Ethics e-testing)
เอสซีจีมีการใช้แบบทดสอบจริยธรรมเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องมือระบบเชิงป้องกัน (Proactive and Preventive System) ในการประเมิน การตรวจสอบ และการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านจริยธรรมให้แก่พนักงานทุกระดับเป็นประจำทุกปี ผ่านแบบทดสอบ “Ethics e-Testing และ e-Policy e-Testing” เพื่อให้สามารถนำเรื่องคุณธรรม อุดมการณ์ 4 จรรยาบรรณ และนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันมาปฏิบัติและประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมให้เกิดผลได้จริง โดยในปี 2566 ได้จัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 9 และ SCG e-Policy e-Testing ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 เพิ่มการปรับสัดส่วนแบบทดสอบให้กับกลุ่มวิชาชีพที่มีความเสี่ยงสูง เช่น งานจัดซื้อ รัฐกิจสัมพันธ์ การขายและการตลาด เป็นต้น โดยพนักงานของเอสซีจีที่ทำการทดสอบทุกคนผ่านการทดสอบ นอกจากนี้ได้มีการวิเคราะห์การตอบแบบทดสอบของพนักงานโดยนำข้อสอบที่พนักงานตอบผิดบ่อยครั้งมาสื่อสารให้พนักงานทุกระดับเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง แบบทดสอบจะมีการทบทวนทุกปีเพื่อให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น นอกจากจรรยาบรรณเอสซีจีและนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันแล้วยังมีเนื้อหาครอบคลุมถึงเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และเรื่องการบูรณาการการกำกับดูแล การบริหารความเสี่ยง การควบคุมให้ปฏิบัติตามกฎและระเบียบ (Integrated GRC) และการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน (ESG 4 Plus) ของเอสซีจี
กำหนดให้พนักงานเอสซีจีต้องทดสอบวัดความรู้ในเรื่อง Ethics e-Testing และ e-Policy e-Testing ต้องผ่่านการทดสอบด้วยเกณฑ์์ร้อยละ 100 เพื่่อให้้พนักงานรับทราบ ตระหนัก และเกิดความเข้าใจสามารถนำไป ปฏิิบัติได้ถูกต้อง
การต่อต้านคอร์รัปชัน
เอสซีจีให้ความสำคัญในการปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาล ซึ่งรวมถึงการต่อต้านคอร์รัปชัน โดยคณะกรรมการบริษัทได้อนุมัตินโยบายต่อต้านคอร์รัปชันซึ่งมีการทบทวนตามความเหมาะสม และได้กำหนดไว้เป็นส่วนหนึ่งของคู่มือจรรยาบรรณเอสซีจี (SCG Code of Conduct) ซึ่งเป็นพื้นฐานของการประพฤติปฏิบัติของพนักงานเอสซีจีปลูกฝังจนเป็นวัฒนธรรมขององค์กร โดยมีการสื่อสารและอบรมให้พนักงานเกิดความเข้าใจและนำไปปฏิบัติครอบคลุมถึงบริษัทย่อย มีการวิเคราะห์ข้อบ่งชี้และประเมินความเสี่ยงการเกิดคอร์รัปชันอย่างสม่ำเสมอ สร้างระบบงานเชิงป้องกัน กำหนดวิธีการลดความเสี่ยงและการควบคุม (Risk Mitigation and Control) ให้พนักงานใช้เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดคอร์รัปชัน โดยมีสำนักงานตรวจสอบประเมินการปฏิบัติตามนโยบายฯ แล้วรายงานต่อคณะจัดการเอสซีจี คณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัทเพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไข รวมถึง ได้จัดทำจรรยาบรรณคู่ธุรกิจ (SCG Supplier Code of Conduct) เพื่อสื่อสารให้เกิดความเข้าใจแนวการปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาลของเอสซีจี และเป็นมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน โดยในปี 2565 มีการทบทวนนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันให้เกิดความชัดเจนสอดคล้องและเหมาะสมเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ
เอสซีจีผ่านการรับรองให้เป็น Certified Company จากคณะกรรมการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันภาคเอกชนไทยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2556 โดยในปี 2565 โดยล่าสุดผ่านการรับรองเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 (ต่ออายุการรับรองทุก 3 ปี)โดยเกณฑ์การพิจารณารับรองของ CAC ได้ประยุกต์จากกรอบความคิด (Framework) ของ Bribery Act ของสหราชอาณาจักร (United Kingdom) ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของ ISO 37001 Anti-bribery Management Systems โดยเอสซีจีได้ดำเนินกิจกรรมด้านการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ จัดทำแนวปฏิบัติการกำกับการปฏิบัติงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันซึ่งสอดคล้องตาม ISO 19600 เพื่อเป็นแนวทางให้บริษัทหรือหน่วยงาน (First Line) ที่มีความเสี่ยงสูงด้านคอร์รัปชันใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ โดยมีหน่วยงานสนับสนุน (Second Line) เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ และมีสำนักงานตรวจสอบ (Third Line) ทำหน้าที่ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน เพื่อสร้างความมั่นใจให้คณะจัดการ คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริษัท กรรมการผู้จัดการใหญ่เอสซีจีได้สื่อสารให้พนักงานทุกระดับรับทราบและต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พนักงานจัดการในฐานะฝ่ายบริหาร (First Line ระดับสูง) ต้องประเมินความเสี่ยง กำหนดมาตรการที่เหมาะสม ผลักดัน สื่อสาร และปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน โดยมีสำนักงานตรวจสอบจัดทำแบบประเมินเรื่องต่อต้านคอร์รัปชัน (Anti-Corruption Compliance Checklist) ให้กับหน่วยงานที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อประเมินความเสี่ยงและกำหนดแนวทางป้องกันควบคุมความเสี่ยงในการเกิดคอร์รัปชัน รวมถึงให้ผู้ตรวจสอบใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบและประเมินประสิทธิผลของการควบคุมภายในอีกด้วย นอกจากนี้ เอสซีจีได้ขยายขอบเขตการดำเนินการต่อต้านคอร์รัปชันไปสู่คู่ธุรกิจโดยสนับสุนนให้คู่ธุรกิจของเอสซีจีเข้าร่วมโครงการ CAC SME Certification ของแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย
Certified Companies of Thailand’s Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption
นอกจากนี้ เอสซีจียังได้จัดทำช่องทางในการแจ้งเบาะแสการกระทำผิดพร้อมกำหนดนโยบายคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้แจ้งเบาะแส เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรของบริษัทและผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ สามารถแจ้งข้อมูลหรือให้เบาะแสการฝ่าฝืนหรือความผิดปกติในการดำเนินธุรกิจของเอสซีจี ที่่สามารถรองรับการแจ้งเบาะแสทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาท้องถิ่นประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีีย และกัมพูชา ได้ตลอดเวลาหรือแจ้งด้วยวาจา หรือเป็นลายลักษณ์อักษร โดยส่งเป็นจดหมายหรืออีเมลไปถึงกรรมการอิสระที่่ ind_dir@scg.com ตลอดจนได้กำหนดแนวปฏิบัติในการตรวจสอบข้อร้องเรียน พร้อมทั้งเปิดเผยให้สาธารณชนทราบผ่านรายงานประจำปี (แบบ 56-1 One Report)
การตรวจสอบข้อร้องเรียน
ในปี 2566 มีข้อร้องเรียนผ่านระบบรับข้อร้องเรียนที่ให้บุคคลภายนอกและบุคลากรของเอสซีจีมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแสของผู้กระทำผิดอันเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย นโยบาย ระเบียบบริษัท อุดมการณ์เอสซีจี และจรรยาบรรณ รวมทั้งสิ้น 55 เรื่อง ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วเสร็จรวม 54 เรื่อง (รวมข้อร้องเรียนของปี 2565 จำนวน 14 เรื่อง) ทั้งหมดนี้ไม่มีเรื่องการคอร์รัปชัน การละเมิดสิทธิมนุษยชนและไม่มีมูลค่าความเสียหายดังนี้
2562 | 2563 | 2564 | 2565 | 2566 | |
---|---|---|---|---|---|
จำนวนข้อร้องเรียนทั้งหมด | 30 | 38 | 30 | 51 | 55 |
จำนวนข้อร้องเรียนที่สอบสวนแล้วเสร็จ | 29 | 33 | 28 | 45 | 54 |
ประเภทข้อร้องเรียนที่สอบสวนแล้วเสร็จ | |||||
1. ผิดจรรยาบรรณหรือทุจริต | |||||
1.1 ผลประโยชน์ทับซ้อน | 3 | 1 | 4 | 4 | 6 |
1.2 คอร์รัปชัน | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
1.3 การละเมิดสิทธิมนุษยชน | 0 | 0 | 0 | 1 | 1 |
1.3.1 การล่วงละเมิดทางเพศ | 0 | 0 | 0 | 0 | 1 |
1.3.2 การล่วงละเมิดในรูปแบบอื่นๆ | 0 | 0 | 0 | 1 | 0 |
1.4 การแข่งขันทางการค้า | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
1.5 การใช้ข้อมูลภายใน | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
1.6 การฟอกเงิน | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
1.7 การจัดการข้อมูลภายใน | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
1.8 อื่นๆ | 0 | 2 | 2 | 6 | 0 |
2. ไม่ปฏิบัติตามระเบียบบริษัท | 8 | 8 | 6 | 15 | 18 |
2.1 ข้อมูลส่วนบุคคล | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
2.2 อื่นๆ | 8 | 8 | 6 | 15 | 18 |
3. ไม่เป็นไปตามข้อร้องเรียน | 18 | 22 | 16 | 19 | 29 |
การสนับสนุนต่อภาคส่วนต่างๆ
เอสซีจีบริษัทชั้นนำของประเทศไทย มีบทบาทเข้มแข็งในการสนับสนุนช่วยเหลือ มูลนิธิ องค์กรการกุศล สมาคมการค้าต่าง สมาคมธุรกิจ และกลุ่มที่ได้รับการยกเว้นภาษี ในฐานะกลุ่มต่างๆ ทั้งในระดับนานาชาติ และระดับประเทศ เพื่อเพิ่มการรับรู้เกี่ยวกับแนวโน้มและความต้องการด้านต่างๆ รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนมุมมองและข้อแนะนำต่างๆ โดยให้การสนับสนุนองค์กรดังกล่าว ทั้งในด้านมูลค่าที่เป็นตัวเงินและทรัพยากรบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการเข้าร่วมสนับสนุนโครงการนั้นๆ
เอสซีจีวางตัวเป็นกลางทางการเมือง โดยมีนโยบายไม่สนับสนุนด้านการเงินหรือรูปแบบอื่นแก่พรรคการเมือง กลุ่มแนวร่วมทางการเมือง หรือผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งทางการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค หรือระดับประเทศ หรือบุคคลผู้มีอิทธิพลทางการเมือง หรือนักวิ่งเต้นทางการเมือง หรือผู้ได้รับประโยชน์ทางการเมือง และอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน (การรณรงค์หาเสียง การซื้อเสียง กิจกรรมเพื่อการลงคะแนนเสียง การลงประชามติ ฯลฯ ) รวมทั้งมีนโยบายไม่จ่ายค่าอำนวยความสะดวกให้กับพนักงานรัฐซึ่งหมายถึงการกระทำใดๆ ที่อาจทำให้เกิดอิทธิพลหรือแรงจูงใจในการตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใดและทำให้เกิดการปฏิบัติหน้าที่หรือการตัดสินใจที่ไม่เป็นธรรม
ในปี 2566 เอสซีจียังคงมุ่งขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนตามแนวทาง ESG และหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การยกระดับการจัดการขยะพลาสติก เปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กำลังเกิดขึ้น ตามรายละเอียดสถานะการเข้าร่วมโครงการที่แสดง ต่อไปนี้
ประเด็นสำคัญหรือหัวข้อ | สถานะการเข้าร่วม | รายละเอียดการมีส่วนร่วม (การสนับสนุน) | มูลค่าการสนับสนุนทั้งหมดในปี 2565 (บาท) |
---|---|---|---|
ความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางธุรกิจที่ยั่งยืนและการเปลี่ยนผ่านเพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ | สนับสนุน | เอสซีจีเผชิญกับความท้าทายหลายภายใต้วิกฤติซ้อนวิกฤติเดียวกับธุรกิจอื่นๆ ทั่วประเทศและทั่วโลก ไม่เพียงแต่ปัญหาเงินเฟ้อที่เป็นผลมาจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ แต่ยังได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้น เอสซีจีมุ่งมั่นในการพัฒนาที่ยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่า รวมทั้งการเตรียมพร้อมเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เอสซีจีให้การสนับสนุนกับสมาคมและองค์กรต่างๆ เพื่อพัฒนานโยบายและกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) รวมทั้งเป้าหมายระยะยาวในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศไทยและ Paris Agreement | 16,958,840 |
ความร่วมมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน | สนับสนุน | เอสซีจีมุ่งสู่การดำเนินธุรกิจตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยธุรกิจต่างๆ ภายในองค์กร และองค์กรภายนอก ที่มีความมุ่งมั่นร่วมกันในการแก้ไขปัญหามลพิษขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อมและมีส่วนสนับสนุนธุรกิจที่ยั่งยืนในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ทั้งการเพิ่มการใช้วัสดุรีไซเคิลเป็นแหล่งพลังงานทดแทน หรือเป็นวัตถุดิบของการแปรรูปสร้างผลิตภัณฑ์ การพัฒนาออกแบบสินค้าและบริการที่มีคุณสมบัติที่ดีขึ้น มีอายุใช้งานยาวนาน และลดปริมาณของเสีย หลายโครงการของเอสซีจียังนำวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตไปรีไซเคิลช่วยพัฒนาอาชีพและเศรษฐกิจของชุมชน เอสซีจีจะยังคงจัดทำโครงการขับเคลื่อนหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่อง โดยขยายเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการบริโภค | 10,848,930 |
เอสซีจี ได้เข้าร่วมและดำรงเป็นสมาชิกของสมาคมและองค์กรต่างๆ ที่อาจมีข้อนำเสนอ หรือ มุมมองต่างๆ เพื่อการพัฒนาประเทศและอุตสาหกรรม เพื่อให้ฝ่ายรัฐบาลได้นำไปพิจารณา และในทางปฏิบัติ สมาคมและองค์กรเหล่านี้ไม่มีอิทธิพลต่อรณรงค์ทางด้านการเมืองแต่อย่างใด
องค์กรที่เอสซีจีให้เงินสนับสนุนในปี 2566 7 ลำดับแรก คือ Alliance to End Plastic Waste (AEPW), สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA), World Business Council for Sustainable Development (WBCSD), Global Cement and Concrete Association (GCCA), สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทยและสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะประเด็นที่ต้องเร่งมือสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เช่น การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจหมุนเวียน สุขภาพและความปลอดภัย เพื่อให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมโดยมิได้ให้การสนับสนุนเพื่อชี้นำองค์กรใดหรือเป็นผู้แทนที่มีส่วนได้เสียต่อการดำเนินงานขององค์กรนั้น
จำนวนเงินที่สนับสนุน (บาท)
รายชื่อองค์กร | ประเภทองค์กร | การสนับสนุน | 2562 | 2563 | 2564 | 2565 | 2566 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Alliance to End Plastic Waste (AEPW) | องค์กรไม่แสวงผลกำไร | ความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยยุติขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อมและผลักดันให้เกิดธุรกิจที่ยั่งยืน ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ธุรกิจและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ | 15,472,600 | 9,231,406 | 8,083,400 | 16,532,650 | 10,848,930 |
สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) | สมาคมทางการค้า | ความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตซีเมนต์ในประเทศไทย โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกแบ่งปันประสบการณ์และ best practice เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาอุตสาหกรรมซีเมนต์ไทยและเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนของประเทศ รวมถึงการตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 โดยจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1 ล้านตัน CO2 จากการสนับสนุนการผลิตซีเมนต์คาร์บอนต่ำ (Hydraulic Cement) ในปี 2566 | NA | NA | NA | 6,432,757 | 6,432,757 |
World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) | องค์กรไม่แสวงผลกำไร | การทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรธุรกิจเพื่อความยั่งยืน โดยมุ่งเน้นผลกระทบเชิงบวกสูงสุดสำหรับผู้ถือหุ้น สิ่งแวดล้อมและสังคม โดยเอสซีจีเข้าร่วมเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งและเป็นสมาชิกหลักของ World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา SCG ได้ถือปฏิบัติและดำเนินธุรกิจตามแนวทางของ WBCSD รวมทั้งปฏิบัติเป็นต้นแบบและให้คำแนะนำแก่บริษัทอื่นๆ ในประเทศไทย เช่น การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจหมุนเวียน สุขภาพและความปลอดภัย กิจกรรมทางสังคม ความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูล และการตรวจสอบภายนอก | 3,053,664 | 2,755,998 | 1,759,650 | 3,286,341 | 4,264,153 |
Global Cement and Concrete Association (GCCA) | สมาคมทางการค้า | ความร่วมมือเพื่อจัดทำ Net Zero Roadmap สำหรับอุตสาหกรรมซีเมนต์และคอนกรีตผ่านความร่วมมือกับผู้กำหนดนโยบาย รวมทั้งบูรณาการหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนเข้าสู่การดำเนินธุรกิจเพื่อให้องค์กรสมาชิกสามารถระบุความเสี่ยงและโอกาสที่สำคัญได้ | NA | NA | NA | 2,777,288 | 3,502,140 |
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (F.T.I.) | สมาคมทางการค้า | การพัฒนาสถาบันธุรกิจภาคเอกชน ของไทยให้แข็งแกร่งด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน อันจะทำให้กลไกการพัฒนา ในภาคอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สามารถประสานกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และพิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติในวงการเศรษฐกิจโลก | 1,415,353 | 1,213,988 | 1,012,596 | 957,596 | 1,376,326 |
UN Global Compact (UNGC) / สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT)* | องค์กรไม่แสวงผลกำไร | ความร่วมมือในการจัดทำกลยุทธ์และการดำเนินงานให้สอดคล้องกับหลักการความยั่งยืนสากล เช่น สิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริต และดำเนินการตามเพื่อสนับสนุนเป้าหมายของสหประชาชาติ | 16,500 | 311,910 | 297,406 | 615,649 | 875,000 |
หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย | สมาคมทางการค้า | ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การค้า อุตสาหกรรม เกษตรกรรม หรือการลงทุน | 262,364 | 236,256 | 160,099 | 282,694 | 187,464 |
สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) | องค์กรไม่แสวงผลกำไร | ความร่วมมือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยการส่งเสริมความเป็นเลิศในด้านความเป็นผู้นำ ส่งเสริมการเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ด้านการบริหารจัดการในทางปฏิบัติ และการสนับสนุนโอกาสในการสร้างเครือข่าย | 49,755 | 30,495 | – | – | 321,000 |
เอกสารดาวน์โหลด
จรรยาบรรณ เอสซีจี
จรรยาบรรณคู่ธุรกิจเอสซีจี
นโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน
นโยบายการแข่งขันทางการค้า
นโยบายการรับเรื่องร้องเรียนการทุจริตและการกระทำผิด
ระบบรับข้อร้องเรียนและแจ้งเบาะแสเอสซีจี
นโยบายการเปิดเผยข้อมูล
การสนับสนุนภาคส่วนต่างๆ
Tax Reporting and Effective Tax Rate