สร้างการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน


เร่งขับเคลื่อนการใช้พลังงานสะอาดเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero

This image has an empty alt attribute; its file name is image.png

เอสซีจีประกาศเป้าหมายระยะยาวมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือน กระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2593 (Net Zero by 2050)

และเป้าหมายระหว่างทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ Scope 1+2 ลงอย่างน้อย 20% ภายในปี 2573

เทียบกับปีฐาน 2563 ครอบคลุมทั้งธุรกิจในประเทศและต่างประเทศ เป็นความมุ่งมั่นร่วมกับเป้าหมายของประเทศไทย

และนานาชาติในการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโลกไม่ให้เกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งจะช่วยลดผล

กระทบของความรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อป้องกันหายนะครั้งใหญ่ที่ยังประเมินไม่ได้ต่อทุกสรรพ

ชีวิตและคนบนโลก เพราะหากถึงจุดนั้น แม้แต่ธุรกิจ หน่วยงาน และองค์กรต่างๆ ก็อาจไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้

เอสซีจีเป็นองค์กรที่มีรากฐานยาวนานกว่า 110 ปี ผ่านวิกฤตเศรษฐกิจและสังคมมานับครั้งไม่ถ้วน ทั้งวิกฤตในประเทศและวิกฤตระดับโลก ผ่านการเรียนรู้และปรับตัวปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตอย่างเข้มแข็งคู่กับสังคมไทยและภูมิภาคอาเซียนมาโดยตลอดแม้ในห้วงยามอันยากลำบากที่เพิ่งพ้นไปของการระบาดโควิด 19 เอสซีจีก็ยังสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์และช่วยเหลือสังคมควบคู่กันไปแต่การรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ไม่เหมือนในอดีตที่ผ่านมา

แม้แต่ประเทศพัฒนาแล้วก็ยังคงเผชิญความท้าทายและอุปสรรคที่จะหยุดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล และเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานสะอาด เพราะการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นมีมายาวนานตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมในกิจกรรมต่างๆ ทั้งการผลิต การบริการ การเดินทางการขนส่ง การใช้สินค้าอุปโภค บริโภค ล้วนพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลักทว่าไม่มีหนทางอื่นที่ชัดเจนไปกว่าการใช้พลังงานสะอาด ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลมพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวมวล เชื้อเพลิงชีวภาพ คือคำตอบของการบรรลุเป้าหมาย Net Zero เพียงแต่ดำเนินการจัดการกับอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงเอสซีจีศึกษาและสั่งสมประสบการณ์การใช้พลังงานสะอาดมาอย่างต่อเนื่องหลายสิบปี จึงเล็งเห็นอย่างชัดเจนว่าธุรกิจพลังงานสะอาด คือแนวทางสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนสังคมให้เกิดการใช้พลังงานสะอาดอย่างแพร่หลายและสามารถสร้างความมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนให้ก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำไปด้วยกัน

มุ่งมั่นใช้พลังงานสะอาดสั่งสมความเชี่ยวชาญจากภายใน

ตั้งแต่ปี 2544 เอสซีจีริเริ่มใช้พลังงานทดแทน โดยนำยางรถยนต์เหลือทิ้งมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ก่อนจะพัฒนาการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ใบอ้อย กะลาปาล์ม แกลบ การผลิตก๊าซชีวภาพจากการบำบัดน้ำเสีย รวมถึงการใช้ความร้อนเหลือทิ้งในกระบวนการผลิตกลับมาผลิตพลังงานไฟฟ้า ปี 2555 เอสซีจีเริ่มโครงการพัฒนาเชื้อเพลิงแข็งทดแทนจากขยะชุมชน (RDF) โดยตั้งโรงแยกขยะที่บ่อขยะและชุมชน เพื่อแยกขยะที่เผาไหม้ได้ นำมาแปรรูปอัดก้อนแข็งเป็นเชื้อเพลิงมาใช้ทดแทนถ่านหินในหม้อเผาปูนซีเมนต์ เอสซีจีพัฒนาองค์ความรู้ด้านการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดจัดทำโครงการรับซื้อวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ใบอ้อย ซังข้าวโพด จากพื้นที่รอบโรงงานในหลายๆ จังหวัด นำมาแปรรูปเป็นเม็ดเชื้อเพลิงชีวมวล (Energy Pellet) เพื่อทดแทนถ่านหิน นอกจากช่วยเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรแล้ว ยังช่วยลดฝุ่น PM 2.5 จากการเผาเศษซากพืชอีกด้วย

ปี 2559 เอสซีจีเริ่มผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยี พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) มาใช้ในโรงงานของทุกกลุ่มธุรกิจ เพื่อร่วมบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อนจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากพื้นฐานของประเทศไทยที่มีศักยภาพด้านพลังงานแสงอาทิตย์ในเกณฑ์สูง คือมีค่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ที่ 18.2 เมกะจูลต่อตารางเมตรต่อวัน ทำให้การใช้พลังงานสะอาดอย่างพลังงานแสงอาทิตย์มีความเป็นไปได้สูงกว่าการใช้พลังงานลมซึ่งมีตำแหน่งที่ตั้งที่เหมาะสมในบางพื้นที่ของประเทศไทย เอสซีจีขยายการติดตั้งโซลาร์ฟาร์มบนบกในพื้นที่รอบโรงงาน จากนั้นก็พัฒนามาขยายการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาอาคารของโรงงาน และไม่หยุดยั้งที่จะมองหาพื้นที่เป็นไปได้อื่นๆ จนมองเห็นพื้นที่ว่างเปล่าซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์ คือผิวน้ำของบ่อน้ำโรงงาน จึงพัฒนานวัตกรรม “โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ” ติดตั้งครั้งแรกในบ่อเก็บน้ำของ SCGC (ธุรกิจเคมิคอลส์) Site 3 ระยอง เมื่อปี 2561 จากการคิดค้นทุ่นพลาสติกลอยน้ำสำหรับติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขึ้นเอง ผลิตจากวัสดุพลาสติกที่มีความแข็งแรงทนทานต่อการใช้งานกลางแดดจัด รองรับน้ำหนักของแผงโซลาร์เซลล์ให้ลอยตัวอย่างมั่นคง ทำให้โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำกลายเป็นต้นแบบให้กับการติดตั้งในโรงงานหลายแห่ง ซึ่งมีพื้นที่บ่อน้ำอยู่แล้วการพัฒนาโซลาร์ฟาร์มแต่ละแบบอาศัยเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ทำให้เอสซีจีมีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์อย่างหลากหลาย และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่หยุดยั้งในการพัฒนานวัตกรรมพลังงานสะอาดให้รุดหน้าต่อไปอย่างต่อเนื่องล่าสุดปี 2565 เอสซีจีพัฒนาโซลาร์ฟาร์มบนบกซึ่งใช้แผงโซลาร์เซลล์แบบสองหน้า (Bifacial) ด้านบนรับแสงอาทิตย์ตามปรกติ ส่วนด้านล่างทำมุมรับแสงสะท้อนจากพื้น ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้อีก 5-7% โดยการปูพื้นยังใช้เศษวัสดุเหลือใช้ของโรงงานมาบดเป็นวัสดุปูพื้นตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน Waste to Value เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสะท้อนแสงจากพื้นสู่แผงโซลาร์เซลล์ รวมทั้งนำเทคโนโลยี AI มาใช้ติดตามประเมินผลการทำงาน ตลอดจนข้อผิดพลาดของระบบต่างๆ และระบุช่วงเวลาการบำรุงรักษาชุดอุปกรณ์ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดนับจากจุดเริ่มต้น เอสซีจีติดตั้งระบบไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ จนถึงปัจจุบันทั้งหมด 120 เมกะวัตต์สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 57,077 ตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2593

ที่สำคัญคือการสะสมองค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญ ของพนักงานเอสซีจี ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการต่อยอดสู่โมเดลธุรกิจใหม่ของเอสซีจีต่อไป

This image has an empty alt attribute; its file name is image-2.png



ขยายธุรกิจสู่บริการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์

จากความชำนาญในการติดตั้งและใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทำให้ในปี 2562 เอสซีจีเริ่มขยายธุรกิจต่อยอดมาพัฒนาเป็นโซลูชันติดตั้งระบบหลังคาโซลาร์เซลล์ให้บริการแก่อาคารที่พักอาศัยทั่วไป ภายใต้ธุรกิจใหม่ในชื่อ SCG Solar Roof Solutions ให้บริการติดตั้งและดูแลครบ

ทั้งกระบวนการ พร้อมแอปพลิเคชันติดตามและตรวจสอบการทำงานของระบบ ช่วยเจ้าของบ้านลดค่าไฟฟ้าได้ถึง 60% ซึ่งเป็นธุรกิจที่ช่วยเพิ่มการใช้พลังงานสะอาดในภาคประชาชนให้สูงขึ้น โดยมียอดขายเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปีเนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ที่ทำให้คน

ส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตอยู่กับบ้านมากขึ้นขณะที่กลุ่มเป้าหมายด้านโรงงานอุตสาหกรรม เอสซีจี ก็พัฒนานวัตกรรมโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำเป็น SCGC Floating Solar Solutions ให้บริการแบบครบวงจรเป็นรายแรกของประเทศไทย ตั้งแต่การออกแบบ ผลิตทุ่นลอยน้ำติดตั้ง และการดูแลรักษา ตั้งแต่ปี 2561-2565 ได้ดำเนินการติดตั้งแก่บริษัทในเอสซีจีและลูกค้าภายนอกรวมมากกว่า 54 โครงการ มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมกว่า 55.1 เมกะวัตต์ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 38,000 ตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ทั้งหมดนี้คือความพยายามของเอสซีจีในการขยายการใช้พลังงานแสงอาทิตย์สู่สังคมวงกว้าง พร้อมกับปรับโมเดลธุรกิจเพื่อตอบรับและเติบโตไปพร้อมกับกระแสความต้องการของสังคมที่ให้ความสำคัญกับการดูแลโลกและยังมุ่งมั่นในการสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานสะอาดให้รุดหน้าต่อไปอีก



This image has an empty alt attribute; its file name is image-6.png
This image has an empty alt attribute; its file name is image-5.png

มุ่งสู่ธุรกิจพลังงานสะอาด สร้างโซลูชัน พลังงานสะอาดสำหรับทุกคน

ด้วยความพรั่งพร้อมทั้งความรู้และประสบการณ์ในเทคโนโลยีพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาด เอสซีจีจึงตัดสินใจขยายธุรกิจโดยก่อตั้งบริษัท SCG Cleanergy เพื่อเป็นศูนย์รวมการให้บริการโซลูชันผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ทั้งแสงอาทิตย์และลม สำหรับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ด้วยพนักงานที่มีประสบการณ์ติดตั้งโซลาร์เซลล์ ทั้งโซลาร์ฟาร์มบนบกโซลาร์รูฟทอปติดตั้งบนหลังคา และโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำติดตั้งบนทุ่นลอยในบ่อน้ำ โดยเจาะกลุ่มลูกค้า ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ นิคมอุตสาหกรรม และ ภาครัฐ รวมถึงการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

จุดเด่นของ SCG Cleanergy คือการค้นหาโซลูชันที่ เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละรายมากที่สุดด้วยกระบวนการทำงานครบวงจร เริ่มตั้งแต่การสำรวจพื้นที่ การวิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาทางออกร่วมกันดูแลการก่อสร้าง ไปจนถึงเมื่อโครงการเริ่มเดินระบบปฏิบัติการ และการดูแลบำรุงรักษาในภายหลังโดยสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์และระบบจ่ายไฟให้เหมาะสมกับเงื่อนไขของสภาพพื้นที่ตัวอย่างกรณีทั่วไป หากหลังคาโรงงานมีพื้นที่กว้างขวางเพียงพอ การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาจะทำ ได้ง่าย แต่หากหลังคาโรงงานมีพื้นที่น้อย ก็อาจเลือกติดตั้งโซลาร์เซลล์ในพื้นที่ส่วนกลางที่อยู่ไม่ไกลกัน เช่น การติดตั้งด้วยระบบโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำในบ่อน้ำของนิคมอุตสาหกรรม แล้วเดินสายจ่ายไฟฟ้ามาสู่โรงงานหรือในกรณีลูกค้ามีโรงงานสองแห่งอยู่ใกล้เคียงกันหากอาคารแรกต้องการใช้ไฟฟ้า แต่หลังคามีพื้นที่ติดตั้งไม่เพียงพอ ขณะที่อาคารที่สองมีหลังคาขนาดกว้างใหญ่ ก็สามารถดำเนินการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาอาคารที่สอง แล้วเดินสายจ่ายไฟฟ้ามาสู่อาคารแรกได้ SCG Cleanergy ยังมีทีมงานหลังบ้านที่คอยตรวจสอบระบบผลิตไฟฟ้าที่ติดตั้งให้ลูกค้าผ่านทางออนไลน์ทั้งในด้านประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ไขรวมทั้งลูกค้าก็สามารถติดตามการทำงานของระบบผ่านทางแอปพลิเคชัน ทั้งทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือได้แบบเรียลไทม์ ปัจจุบันนอกจากผู้ที่ติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้งานในอาคารของตนเองแล้ว ยังมีผู้ที่ต้องการผลิตไฟฟ้าเพื่อขายเข้ากับระบบสายส่งไฟฟ้าเพิ่มขึ้นด้วย SCG Cleanergy จึงจัดเตรียมพัฒนาแพลตฟอร์มการซื้อขายไฟฟ้า ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ด้วยแนวคิด คือ การขายไฟฟ้าผ่านระบบสายส่งของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ จากพื้นที่หนึ่งสู่อีกพื้นที่หนึ่ง ทำให้ไม่มีข้อจ กัดเรื่องระยะทางใกล้-ไกลในภาพการปฏิบัติ คือโรงงานที่อยู่จังหวัดหนึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าแล้วส่งไปขายให้โรงงานที่อยู่อีกจังหวัดหนึ่งได้การซื้อขายไฟฟ้าระหว่างภาคเอกชนรูปแบบนี้ต้องการแพลตฟอร์มที่มาช่วยบริหารจัดการ โดยมีอุปกรณ์ที่จำเป็นในระบบคือ สมาร์ทมิเตอร์ ที่ช่วยตรวจวัดและคัดแยกไฟฟ้าที่ไหลเข้ามาในระบบ ว่าเป็นไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน หรือไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ สำหรับพลังงานทดแทนจากลมนั้นมีเงื่อนไขแตกต่างจากพลังงานแสงอาทิตย์ ได้แก่ สถานที่ตั้งกังหันลมต้องห่างไกลเพียงพอที่จะไม่รบกวนชุมชน และต้องมีลมแรงพอที่จะผลิตไฟฟ้าได้คุ้มค่ากับโครงการ

ขณะนี้ SCG Cleanergy อยู่ระหว่างพัฒนาโครงการเพื่อนำเสนอภาครัฐ รวมทั้งมองหาโอกาสความเป็นไปได้ ในภูมิภาค เช่น ประเทศเวียดนาม ซึ่งภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมจากฐานที่ตั้งในทะเล

………

แม้การบรรลุเป้าหมาย Net Zero ในปี 2593 จะยังห่างไกลไปอีกเกือบ 30 ปี แต่ยังเต็มไปด้วยอุปสรรคและความท้าทายด้วยความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนผ่านจากเชื้อเพลิงฟอสซิลสู่การใช้พลังงานสะอาดของเอสซีจี ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของการค้นคว้า พัฒนา และทดลองใช้จนได้ผล แล้วผลักดันให้ทุกกลุ่มธุรกิจเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนในหน่วยงานพร้อมกับคิดค้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างต่อเนื่อง เอสซีจีเชื่อมั่นว่าเราจะเป็นองค์กรที่สามารถปรับตัวยกระดับ พัฒนา และพร้อมสร้างความร่วมมือร่วมใจกับทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ยากที่สุดในประวัติศาสตร์ขององค์กรและของโลก