ในการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ผ่านมา เอสซีจีให้ความสำคัญกับโครงการสนับสนุนการฟื้นฟูธรรมชาติ เสริมสร้างศักยภาพชุมชน และสร้างความอยู่ดีมีสุขเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ คุณภาพชีวิตที่ดี และการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องเร่งด่วนและจำเป็นที่จะต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ตามข้อตกลงปารีส และเป็นไปตาม SDGs 7, 9, 12 และ 13 ที่เอสซีจีให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยมุ่งมั่นที่จะลด ก๊าซเรือนกระจก (GHG) และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี พ.ศ. 2593 เพื่อทำให้การเพิ่มอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกให้ต่ำกว่า 1.5˚C ดังนั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ การส่งเสริมเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยระบบอัตโนมัติของระบบการวัดและควบคุม ส่งผลให้กระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงขึ้น การเพิ่มขนาดพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) และชีวมวล (Biomass) ที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่ก่อนหน้านี้จะมีการกำจัดเศษซากของเสียทางการเกษตรในฟาร์มโดยการเผาในที่โล่งซึ่งทำให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและ PM2.5 ซึ่งเป็นอันตราย อีกทั้งยังมีการสร้างระบบบำบัดมลพิษทางอากาศในร่มที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้ เอสซีจียังได้ดำเนินการโครงการ ปลูก ลด ร้อน เชื่อมโยงชุมชน และขยายพื้นที่ธรรมชาติ และการสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์และลดภาวะโลกร้อนอย่างต่อเนื่อง
ส่งเสริมเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญสูงขึ้นอย่างมากในปีที่ผ่านมา ทำให้มีปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายและโอกาสของการมุ่งสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำเอสซีจีจึงตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2593 และตั้งเป้าหมายที่สอดคล้องกับ Science Based Target ซึ่งอยู่ระหว่างการทวนสอบ โดยยังคงมุ่งมั่นดำเนินการตามกลยุทธ์และมาตรการต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
ธุรกิจเคมิคอลส์ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ตรวจวัดและควบคุมค่าต่างๆ ในระบบแบบ อัตโนมัติ ทำให้กระบวนการผลิตของโรงงาน ระยองโอเลฟินส์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
SCGP (ธุรกิจแพคเกจจิ้ง) ปรับปรุง กระบวนการผลิตกระดาษของโรงงาน สยามคราฟต์อุตสาหกรรม ด้วยการใช้ ระบบดิจิทัลออนไลน์ควบคุมการทำงาน ของอุปกรณ์ต่างๆ แบบอัตโนมัติ ทำให้ใช้ พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ มากขึ้น
ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ขยาย การติดตั้งระบบพลังงานเเสงอาทิตย์บนหลังคาทั้ง ภายในเเละภายนอกบริษัท รวมเป็น 18,923 เมกะวัตต์ ชั่วโมงต่อปี
บริษัทอาร์ไอแอล 1996 จำกัด ในธุรกิจเคมิคอลส์ จัดทำโครงการขยายการผลิตไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารสำนักงานและโรงงานของบริษัท 5 บริษัทที่ตั้งอยู่ใน นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ได้แก่ บริษัทไทยโพลิเอททิลีน จำกัด บริษัทมาบตาพุด โอเลฟินส์ จำกัด บริษัทแกรนด์ สยาม คอมโพสิต จำกัด บริษัทไทย เอ็มเอฟซี จำกัด และบริษัทมาบตาพุด แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด รวมกำลังการผลิตสูงสุด 1.78 เมกะวัตต์ เพื่อใช้เป็นพลังงานภายในอาคารแทนการใช้ไฟฟ้าจากภายนอก
SCGP (ธุรกิจแพคเกจจิ้ง) ขยายการติดตั้งระบบ พลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นรวมเป็น 11.78 เมกะวัตต์ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็น 8,757 ตัน คาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี และเพิ่มการใช้พลังงาน ชีวมวลโดยการรับซื้อใบอ้อยจากเกษตรกรมาเป็น พลังงานทดแทนและปรับปรุงเครื่องจักรให้สามารถ ใช้เชื้อเพลิงชีวมวลได้อย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัดทางธุรกิจ
1. ปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 312,750 ตัน-คาร์บอนไดออกไซด์ จากการส่งเสริมเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
2. ยกระดับชื่อเสียงแบรนด์โดยรวม
- ได้รับการยกย่องเป็นบริษัทชั้นนำใน “Low Carbon and Sustainable Business Index” เป็นปีที่ 2 ติดต่อกันโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกแห่งประเทศไทย
- ได้รับรางวัล Sustainability Excellence Awards จาก SET Awards 2021 ติดต่อกันเป็นปีที่ 6 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- เพิ่มมูลค่าสื่อเป็น 60.87 ล้านบาท จากการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ตัวชี้วัดด้านสังคม/ สิ่งแวดล้อม
1. ผลกระทบด้านบวกต่อสิ่งแวดล้อม
- ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 312,750 ตัน-คาร์บอนไดออกไซด์ จากการส่งเสริมเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
2. พฤติกรรมเปลี่ยนจากการสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม
- เป็นแบบอย่างของแนวคิดที่ดีในการช่วยขยายการพัฒนาชุมชน
โครงการ ปลูก ลด ร้อน
เอสซีจีมุ่่งปลููกจิตสำนึกเยาวชนคนรุ่่นใหม่ร่่วมมือปลููกต้นไม้เพื่่อช่่วยลดโลกร้อน พร้อมทั้งให้ทุกกลุ่มธุุรกิจดำเนินกิจกรรมปลููกต้นไม้ร่วมกับชุุมชนในพื้้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศมาอย่างต่อเนื่่อง เน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจในการปลูกต้นไม้ ทั้งป่าบกและป่่าทะเลเพื่่อให้้เจริญเติบโตแข็งแรงช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์
ตัวชี้วัดทางธุรกิจ
1. ปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- ปลูกต้นไม้จำนวน 160,000 ต้น ครอบคลุม 700 ไร่ ช่วยลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจก 10,000 ตัน-คาร์บอนไดออกไซด์
2. ยกระดับชื่อเสียงแบรนด์โดยรวม
- ได้รับรางวัล Sustainability Excellence Awards จาก SET Awards 2021 ติดต่อกันเป็นปีที่ 6 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- เพิ่มมูลค่าสื่อเป็น 60.87 ล้านบาท จากการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ตัวชี้วัดด้านสังคม/ สิ่งแวดล้อม
1. ผลกระทบด้านบวกต่อสิ่งแวดล้อม
- ปลูกต้นไม้จำนวน 160,000 ต้น ครอบคลุม 700 ไร่ ช่วยลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจก 10,000 ตัน-คาร์บอนไดออกไซด์
2. พฤติกรรมเปลี่ยนจากการสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม
- เป็นแบบอย่างของแนวคิดที่ดีในการช่วยขยายการพัฒนาชุมชน
การสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อคืนสมดุลทางนิเวศวิทยา
เอสซีจีได้นำแนวทางการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ดำเนินกิจการมาอย่างยาวนานกว่า 10 ปี ได้สืบสาน อนุรักษ์ และสร้างสืบสานสืบสานพระราชปณิธานว่าด้วย “น้ำคือชีวิต” ผ่านโครงการ “รักษ์น้ำจากภูผาสู่มหานที”
ความคิดริเริ่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมโดยมีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้ชาวบ้านเข้าใจการจัดการน้ำในพื้นที่ของตนได้อย่างแท้จริง การสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ที่แห้งแล้งครั้งหนึ่งช่วยรักษาความชื้นในป่าต้นน้ำและฟื้นฟูสมดุลของระบบนิเวศ ทั้งยังช่วยชุมชนท้องถิ่นแก้ปัญหาภัยแล้งในฤดูร้อนและน้ำท่วมในฤดูฝน ตลอดจนจัดเก็บน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและเกษตรกรรม โดยการนำน้ำลงสู่แอ่งน้ำบริเวณเชิงเขาหรือแจกจ่ายน้ำบนที่ราบลุ่มผ่านระบบกักเก็บน้ำ ‘แก้มลิง’ เพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้น้ำเพื่อการเกษตรได้อย่างเต็มที่
(ลิงค์สำหรับดูวีดีโอคลิป: https://www.youtube.com/watch?v=dNFYLCe_PHs)
ตัวชี้วัดทางธุรกิจ
1. ยกระดับชื่อเสียงแบรนด์โดยรวม
- ได้รับรางวัล Sustainability Excellence Awards จาก SET Awards 2021 ติดต่อกันเป็นปีที่ 6 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- เพิ่มมูลค่าสื่อเป็น 60.87 ล้านบาท จากการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ตัวชี้วัดด้านสังคม/ สิ่งแวดล้อม
1. ผลกระทบด้านบวกต่อสิ่งแวดล้อม
- ฝายชะลอน้ำจำนวน 110,000 ฝาย ที่ส่งผลให้เกิดการฟื้นฟูธรรมชาติและการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์
2. ผลกระทบด้านบวกต่อสังคม
- เพิ่มรายได้ของชุมชน
- ส่งเสริมการจัดการน้ำในชุมชน 14,000 ครัวเรือน
- ชุมชนมีน้ำเพื่อการชลประทานตลอดทั้งปี เมื่อเทียบกับช่วงฤดูฝนเพียงปีละ 3 เดือน โดยมีรายได้เพิ่มขึ้นถึงสี่เท่า
3. พฤติกรรมเปลี่ยนจากการสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม
- เป็นแบบอย่างของแนวคิดที่ดีในการช่วยขยายการพัฒนาชุมชน