การดูแลผู้มีส่วนได้เสีย

เอสซีจีดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์และรับผิดชอบต่อสังคม โดยให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน การดำเนินงานอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริษัท โดยเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หลักบรรษัทภิบาลเอสซีจี แนวปฏิบัติการพัฒนาสู่ความยั่งยืนของเอสซีจี จรรยาบรรณเอสซีจี และนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงดูแลให้มั่นใจว่าสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียได้รับการคุ้มครองและปฏิบัติอย่างเป็นธรรม
ความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสีย
มีส่วนได้เสียมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของเอสซีจีในทุกมิติของการดำเนินงาน เราจึงให้ความสำคัญกับการดูแลและบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นระบบ โดยยึดหลัก ความเป็นธรรม ความโปร่งใส และการมีส่วนร่วม เอสซีจีเคารพสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม รับฟังความคิดเห็นและข้อกังวลต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดี และส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่ครอบคลุมและสร้างสรรค์
เพื่อให้การดูแลผู้มีส่วนได้เสียเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เอสซีจีได้จัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง และกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างเอสซีจีและผู้มีส่วนได้เสียในระยะยาว
แนวทางและมาตรฐานการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสีย
เนื่องจากผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มมีความคาดหวังและได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานในระดับที่แตกต่างกัน เอสซีจีจึงได้ประกาศ นโยบายการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย และมีการทบทวนและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานของเอสซีจีตอบสนองต่อความต้องการของทุกกลุ่มอย่างเหมาะสม
ในปี 2563 เอสซีจีได้พัฒนา คู่มือการสร้างความมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย โดยอ้างอิงจาก AA1000 Stakeholder Engagement Standard (AA1000SES) 2015 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล คู่มือนี้ใช้เป็นกรอบและแนวทางสำหรับพนักงานและผู้ปฏิบัติงานของเอสซีจี รวมถึงบริษัทย่อย เพื่อทำความเข้าใจมุมมอง ทัศนคติ และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย พร้อมทั้งสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพ และสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างเอสซีจีและผู้มีส่วนได้เสีย
กระบวนการในการดูแลผู้มีส่วนได้เสีย
เอสซีจีได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบในการ ระบุผู้มีส่วนได้เสีย วิเคราะห์ และจัดลำดับความสำคัญ ของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย โดยใช้เกณฑ์ที่สอดคล้องกับบริบทของการดำเนินธุรกิจ
- การจำแนกกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย – เอสซีจีจำแนกผู้มีส่วนได้เสียออกเป็น 12 กลุ่ม ได้แก่
- ผู้ถือหุ้น
- พนักงาน
- ลูกค้า
- คู่ค้า
- คู่ธุรกิจ
- ผู้ร่วมลงทุน
- เจ้าหนี้
- ชุมชน
- หน่วยงานราชการ
- สื่อมวลชน
- ภาคประชาสังคม/นักวิชาการ/ผู้นำความคิด
- คู่แข่ง
- การวิเคราะห์ผลกระทบและความคาดหวัง – ประเมินระดับผลกระทบที่แต่ละกลุ่มได้รับ รวมถึงความคาดหวังต่อเอสซีจี เพื่อกำหนดแนวทางการดูแลที่เหมาะสม
- การออกแบบแนวทางการมีส่วนร่วม – วางแผนและพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารและการสร้างการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม
- การติดตามและประเมินผล – ติดตามผลลัพธ์จากกระบวนการมีส่วนร่วม และนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงนโยบายและแนวปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การเชื่อมโยงกับแนวทางความยั่งยืน
กระบวนการดูแลผู้มีส่วนได้เสียของเอสซีจี เป็นส่วนสำคัญของแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเชื่อมโยงกับหลักการ Double Materiality ซึ่งพิจารณาทั้งสองมิติหลัก ได้แก่
- ผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม – วิเคราะห์ว่าการดำเนินงานของเอสซีจีอาจสร้างผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างไร
- ผลกระทบมูลค่าทางธุรกิจ – พิจารณาว่าการดำเนินงานของเอสซีจีส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขัน ความเสี่ยง และโอกาสทางธุรกิจของเอสซีจีอย่างไร เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตขององค์กรและความยั่งยืนในระยะยาว
ซึ่งจากการประเมินนี้ เอสซีจีสามารถระบุ ประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ (Impact Materiality) และนำไปใช้กำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ รวมถึงรายงานต่อ คณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเอสซีจี เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานขององค์กรสอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
การสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ
Key stakeholder engagement 2024-TH
ช่องทางการติดต่อสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

เอกสารดาวน์โหลด
นโยบายการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย
คู่มือการสร้างความมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย