การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงาน

SCG ได้ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะยาว และมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำตามแนวทาง Inclusive Green Growth โดยขับเคลื่อนผ่าน การเป็นองค์กรที่มีความคล่องตัวและยืดหยุ่น พัฒนานวัตกรรมกรีน สร้างองค์กรแห่งโอกาส สร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และสะท้อนผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์ ESG 4 Plus (มุ่ง Net Zero, Go Green, ลดเหลื่อมล้ำ, สร้างความร่วมมือ และเสริมสร้างความไว้วางใจและโปร่งใส)

เอสซีจีได้ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสภายในปี 2593 โดยในปี 2564 ได้เข้าร่วมกับองค์กร Science Based Target initiative (SBTi) ซึ่งให้การรับรองหน่วยงานและธุรกิจต่างๆ ในการตั้งเป้าหมายดังกล่าวตามมาตรฐานการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ในปี 2566 เอสซีจีได้รับการรับรองจาก SBTi สำหรับเป้าหมายระยะใกล้ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก GHG Scope 1 และ 2 ลง 25% ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2563 รวมทั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก GHG Scope 3 จากการขายเชื้อเพลิงฟอสซิลให้ลูกค้าภายนอกลงอย่างน้อย 25% ภายในปี 2574 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2564
การได้รับการรับรองจาก SBTi ถือเป็นก้าวสำคัญของเอสซีจีในการสร้างธุรกิจเพื่อสังคมสีเขียว แต่ยังคงมีความท้าทายอีกมาก ซึ่งจำเป็นต้องบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ทั้งองค์กรระดับประเทศและระดับโลกขึ้น เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) , สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (UNGCNT), องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) เพื่อผนึกกำลัง “ร่วม-เร่ง-เปลี่ยน ไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ” โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง
เป้าหมายระยะใกล้ที่ผ่านการรับรองจาก SBTi
SCG ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขต 1 และ 2 ลง 25% ภายในปี ค.ศ. 2030 จากปีฐาน ค.ศ. 2020* และ SCG ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขต 3 จากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ขายลง 25% จากปี ค.ศ. 2031 จากปีฐาน ค.ศ. 2021
* ขอบเขตของเป้าหมายครอบคลุมถึงการปล่อยจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ที่ดิน และการดึงกลับจากการใช้เชื้อเพลิงชีวมวล

การประกาศเป้าหมายใหม่ที่มีความเข้มข้นมากขึ้นนี้นับเป็นความท้าทายที่เอสซีจีต้องมุ่งคิดค้นและนำเทคโนโลยีใหม่มาช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดและยั่งยืน (Technology for Energy Transition) ไปจนถึงการร่วมมือกับคู่ค้าและคู่ธุรกิจเพื่อแสวงหาแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 3
SCG GHG Roadmap Towards 2050

Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD)
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นหัวข้อสำคัญเป็น 1 ใน 3 ของกลยุทธ์ของ SCG โดยการนำ TCFD มาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจตั้งแต่ปี 2562 มีการทบทวนโครงสร้างขององค์กร ผลการดำเนินการ เช่น คณะกรรมการกำกับ กลยุทธ์ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน การจัดการความเสี่ยง และเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง และการจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การกำกับดูแล (Governance)
SCG นำ TCFD มาใช้เป็นกรอบในการกำกับดูแลการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตั้งแต่ระดับบริหารสูงสุด จนถึงระดับผู้ปฏิบัติงาน เช่น คณะกรรมการบริษัท (Board), President & CEO, คณะกรรมการพัฒนาอย่างยืน (Sustainable Development Committee; SDC), คณะกรรการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงาน (Climate Change & Energy Committee), คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee) และกลุ่มธุรกิจ
- คณะกรรมการบริษัท (Board) เป็นผู้กำหนดและตัดสินใจทิศทางการดำเนินงานขององค์กร ที่รวมถึงประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และถ่ายทอดไปสู่ President & CEO
- President & CEO เป็นผู้นำในการไปสู่เป้าหมายที่ท้าทาย ของทุกกลุ่มธุรกิจ ในการไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ การกำหนดเป้าหมายระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว ที่สอดคล้องกับความตกลงปารีส และเป้าหมายของประเทศ (NDC) ที่ SCG มีธุรกิจอยู่ โดยการสนับสนุนการลงทุนและการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เช่น ราคาคาร์บอนภายในองค์กร (Internal Carbon Pricing; ICP) เพื่อให้โครงการด้านสิ่งแวดล้อม การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
- คณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้ทิศทางการดำเนินงานระดับสากล, ESG, กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืน การสร้างเครือข่าย เช่น WBCSD, UNGC, Ellen MacArthur Foundation, GCCA และการติดตามผลการดำเนินงานของ SCG เทียบกับระดับสากล
- คณะกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงาน รับผิดชอบโดยตรงกับการดำเนินงานในการกำหนดกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แผนการไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero pathway) แผนรองรับความเสี่ยงในช่วงการเปลี่ยนถ่าย (Transition risk) และความเสี่ยงด้านกายภาพ (physical risk) แผนการปรับตัว การทำ R&D การสร้างความร่วมมือทั้งในระดับสากลและระดับประเทศเพื่อนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น CCU/S, Energy storage, Hydrogen energy sources.
- คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง รับผิดชอบในการสร้างระบบและวัฒนธรรมการประเมินความเสี่ยงและการจัดการที่จะมีผลกระทบต่อ SCG.
กลยุทธ์หลัก (Strategy)
SCG ได้ประเมินการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหัวข้อสำคัญกับองค์กร (materiality) คณะกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงาน ได้กำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานที่สำคัญ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งในแผนระยะใกล้ (2030), ระยะกลาง (2040) และระยะยาว (2050) เพื่อมุ่งสู่ net zero 2050
- การเติบโตด้านพลังงานสะอาด
- ลดการใช้พลังงานฟอสซิล
- ปรับปรุงและเปลี่ยนกระบวนการผลิต เครื่องจักร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
- เพิ่มความต้องการทางการตลาดของสินค้าคาร์บอนต่ำให้สูงขึ้น
- การพัฒนาการวิจัยและเทคโนโลยีที่เร่งให้เกิดการลด การดูดกลับ และการกักเก็บก๊าซเรือนกระจก เพื่อมุ่งสู่ net zero
- การฟื้นฟูความสมบูรณ์ทางบกและทางทะเลเพื่อเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน
- สร้างความรู้ความตระหนักการอนุรักษ์พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กับพนักงาน คู่ธุรกิจ และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับ SCG
- ประยุกต์ใช้ราคาคาร์บอนภายในองค์กร (ICP) ที่ 25 USD/ton CO2 มาสนับสนุนโครงการที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ SCG
- การเปลี่ยนแปลงด้านนโยบาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับเพื่อเร่งการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
SCG ได้สร้างระบบการชี้บ่ง (identify) การประเมิน(assess) ทั้ง transition risks และ physical risks โดย SCG พิจารณาเห็นว่ามีทั้งความเสี่ยงและโอกาส
- ความเสี่ยง (Risks) เช่น กฎหมาย ข้อกำหนดทางการค้า น้ำท่วม น้ำแล้ง ความต้องการของลูกค้า และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
- โอกาส (Opportunities) เช่น การสร้างเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สินค้าที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ (low carbon products) การลงทุนหรือธุรกิจใหม่ๆ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าชีวมวล การทำระบบการกักเก็บพลังงาน
การจัดการความเสี่ยง (Risk Management)
SCG มีการกำหนดกระบวนการในการบ่งชี้ (identify) ประเมิน (assess) และการจัดการประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ ความเสี่ยงด้านกายภาพ (physical risks) ความเสี่ยงช่วงการเปลี่ยนถ่าย (transition risks) และแผนการปรับตัว (adaptation plan) ทั้งในช่วงปัจจุบัน ระยะกลางและระยะยาว ทั้งนี้ SCG ได้มีระบบการประเมินความเสี่ยงสำหรับทุกหน่วยบริษัท ให้มีการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น น้ำท่วม น้ำแล้ง โดยให้มีการปะเมินอย่างน้อยไตรมาส หรือเมื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
Metrics and Targets
SCG ได้มีการเปิดเผยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก scope 1&2 และ 3 ในรายงานประจำปี และบนเวปไซด์
เป้าหมาย
- ภายในปี 2593 การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (scope 1&2)
- ภายในปี 2573 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก scope 1&2 ลง 25% เทียบกับปีฐาน 2563
- ภายในปี 2574 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก scope 3 จากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ขายให้ลูกค้าภายนอกลง 25% เทียบกับปีฐาน 2564
- ภายในปี 2568 ลดการใช้พลังงานลง 13% เทียบกับกรณีปกติ ณ ปีฐาน 2550
ผลการดำเนินการปี 2567 (Metric)
• ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก scope 1&2 ได้ 25.59% เทียบกับปีฐาน 2563
• ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก scope 3 จากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ขายให้ลูกค้าภายนอกได้ 20.66% เทียบกับปีฐาน 2564
• ลดการใช้พลังงานได้ 7.91% เทียบกับกรณีปกติ ณ ปีฐาน 2550
• สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงทดแทน 28.59%
Green Logistics
SCGJWD มี Green Strategy เพื่อสร้างความยั่งยืนให้บริการด้านโลจิสติกส์ ทั้งต่อลูกค้า ชุมชน และคู่ธุรกิจขนส่งโดยใช้หลักการบริหารคือ Backhaul Logistics Operation บริหารรอบรถบรรทุกสินค้าไปและกลับ ลดการขนส่งเที่ยวเปล่า Multi-Modal บริหารการขนส่งสินค้าล็อตใหญ่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง เป็นต้น
SCGJWD มีเป้าหมาย Net Zero ในปี พ.ศ. 2593 การขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Logistics Program) ดังนี้
- การใช้รถขนส่งพลังงานไฟฟ้า EV Truck เพื่อลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงในการขนส่งได้ประมาณ 20,000 ลิตรต่อเดือน หรือ 210,000 ลิตรต่อปี
- การใช้รถยกพลังงานไฟฟ้า EV Forklift และการใช้นวัตกรรม ASRS (Automated Storage Retrieval System) ในคลังสินค้า เพื่อทดแทนการใช้รถยกที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิง และช่วยจัดเก็บสินค้าแบบอัตโนมัติ
- การจัดการรถขนส่งโครงการ Fleet Utilization รถขนส่งทุกคันมีการติด GPS และใช้ระบบซอฟแวร์ในการคำนวณเส้นทางการขนส่ง เพื่อให้ได้ระยะทางที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการขนส่ง
- การติดตั้ง Solar Rooftop เพื่อใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในคลังสินค้าและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมจาก
https://www.scgjwd.com/en/sustainability/environment/energy-management

เอกสารดาวน์โหลด