เอสซีจีได้ปรับโครงสร้างการบริหารงานเพื่อความยั่งยืนภายใต้คณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น และเพื่อสนับสนุนความเชื่อมโยงประเด็นต่างๆ ให้ เข้าเป็นส่วนสำคัญของแผนงานการดำเนินธุรกิจ โดยจัดให้มีการดูแลผ่านมิติทั้ง 3 มิติ คือ มิติด้านสังคม มิติด้านสิ่งแวดล้อม และมิติด้านเศรษฐกิจ และให้มีคณะกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อบริหารจัดการประเด็นที่สำคัญ โดยกำหนดให้มีการประชุมอย่างน้อยไตรมาสละครั้ง

คณะกรรมการและคณะทำงานที่บริหารจัดการประเด็นต่างๆ ประกอบด้วย

คณะกรรมการกิจการสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

  • การช่วยเหลือสังคมและชุมชนภายใต้สถานการณ์โรคระบาดโควิด 19
  • ผลการดำเนินงานปี 2564 และแผนการดำเนินงานปี 2565 ของโครงการและกิจกรรมเพื่อสังคมซึ่งให้ความสำคัญกับประเด็น ESG ที่สำคัญ ได้แก่ Climate Crisis, Nature Crisis และ Mounting Inequality
  • แนวทางการขับเคลื่อนโครงการด้าน ESG โดยผสาน 3 หลักการ คือ ความร่วมมือจากหลายฝ่าย (Multilateralism) ความร่วมมือจากหลายรุ่น (Multigene rationalism) และความร่วมมือจากหลายสาขาวิชา (Multidisciplinary)

คณะจัดการบริหารความเสี่ยง เอสซีจี

  • ความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สุขภาพและความปลอดภัยสิทธิมนุษยชน การแพร่ระบาดและกลายพันธุ์ของโควิด 19
  • ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk) เช่น ภูมิทัศน์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและรุนแรงขึ้น การมุ่งสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำการจัดการขยพลาสติกที่ขาดประสิทธิภาพ ภัยคุกคามทางไซเบอร์

คณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี

  • การบริหารจัดการประเด็นด้าน ESG ตลอดห่วงโซ่คุณค่าที่ยั่งยืน และสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
  • ทบทวนประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สำคัญ (Materiality) และผลักดันให้นำ  Materiality เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ธุรกิจ
  • การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทั้งระดับสากลและประเทศ เช่น WBCSD, UNGC, Ellen MacArthur Foundation, TBCSD, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และภาครัฐ

Governance and Economic Excellence Committee

  • การกำกับดูแล การบริหารความเสี่ยงองค์กร จริยธรรมทางธุรกิจ การเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส
  • การปรับตัวของธุรกิจ กลยุทธ์ การลงทุน และกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะมุ่งสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

Environment Excellence Committee

  • การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงาน การประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ
  • เศรษฐกิจหมุนเวียน ความรับผิดชอบต่อสินค้าและบริการ การจัดการของเสียการบริหารจัดการน้ำ และการจัดการมลพิษทางอากาศ

Social Excellence Committee

  • การส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานและคู่ธุรกิจ
  • การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน การบริหารความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของบุคคล
  • การลดความเหลื่อมลํ้าในสังคม

คณะกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงาน

  • การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่คุณค่า
  • การกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามแนวทางของ Science-based Targets (SBT) ที่สอดคล้องกับเป้าหมายตามความตกลงปารีส (Paris Agreement)
  • การประเมินความเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจตามกรอบแนวทางสากล (TCFD)

คณะกรรมการเศรษฐกิจหมุนเวียน

  • การกำหนดกลยุทธ์และวางแผน การพัฒนาสินค้า บริการ และโซลูชันตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • การสร้างความร่วมมือทั้งระดับสากลและระดับประเทศ

คณะกรรมการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

  • การติดตามผลตามกลยุทธ์ การผลักดันการนำ SCG Safety Framework ไปสู่การปฏิบัติทั้งในและต่างประเทศ
  • การรายงานผลเพื่อวิเคราะห์สาเหตุ แนวโน้ม การแก้ไขและป้องกันเพื่อการขยายผล

คณะกรรมการความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง

  • การติดตามการดำเนินงานตามแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว และการขยายผลการปฏิบัติไปยังธุรกิจของเอสซีจีในต่างประเทศ
  • การสร้างเครือข่ายความมีส่วนร่วมกับผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ ทุกภาคส่วน เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง

เอกสารดาวน์โหลด

กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี